วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ต่อ นางสาวสยาม ยุคที่ 1 : พ.ศ. 2491 - 2497

ปี พ.ศ. 2484 งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานประกวดนางสาวไทยกำลังดำเนินไปตามปกติร้านรวงมีการจัดสร้างไว้อย่างสวยงาม สาวงามผู้เข้าประกวดนางสาวไทยทุกคนได้เริ่มเดินขึ้นสู่เวทีประกวดในคืนแรกแล้ว
หากแต่เกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นได้ยกกำลังพลบุกที่บางปู จังหวัประจวบคีรีขันธ์ ตลอดไปจนทั้งแถบจังหวัดภาคใต้ จนถึงมลายู และทั่วไปทุกประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อสู้สงครามโดยเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร งานประกวดนางสาวไทยจึงหยุดชะงักกลางคัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยจึงได้มีการฉลองขวัญคนไทย และรัฐธรรมนูญด้วยการประกวดนางงาม ดอกไม้ของชาติ ขึ้นมาแทน เนื่องจากไม่ได้มีสาวงามจากต่างจังหวัดเข้าร่วมประกวด ด้วยเหตุผลของการคมนาคมไม่สะดวก จะมีก็เพียงสาวงามจากกรุงเทพฯ และธนบุรีเท่านั้น ผู้ชนะเลิศเป็น ดอกไม้ของชาติ คนแรกและคนเดียวในประเทศไทย คือ ปิยฉัตร บุญนาค






2491 : 1948

1. ลัดดา สุวรรณสุภา : Ladda Suwansupa
2. ปราณี มาลีพันธุ์สกุล : Pranee Maleepansakul
3. เรณู พิบูลภาณุวัฒนา : Renu Pibulpanuwattana
4. ลักษมี กรรณสูตร : Luksamee Kannasutra
5. อุษา วีรยวรรธนะ : Usa Weerayawattana




ลัดดา สุวรรณสุภา นางสาวไทย ปี พ.ศ.2491

หลังจากสงครามเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ในปี พ.ศ.2491 รัฐบาลโดยกองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีมติให้จัดการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญหลังจากว่างเว้นการประกวดนางสาวไทยมาถึง 8 ปีได้กำหนดให้มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม มีการเดินประกวดในชุดเสื้อแขนกุดเปิดหลัง กางเกงกีฬา เหมือนดังปี 2483 เวทีประกวดถูกจัดขึ้น ณ สวนอัมพร ท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบายของลมหนาวสาวงามผู้ที่ชนะใจกรรมการได้รับการตัดสินดำรงตำแหน่งนางสาวไทย คือ ลัดดา สุวรรณสุภา ท่ามกลางรองอีก 4 คน คือ ลักษมี กรรณสูต, อุษา วีรยะวรรธนะ, เรณู ภิบูลย์ภาณุวัธน์ (คุณแม่ แซม ยุรนันทน์) และ ปราณี มาลีพันธุ์สกุล

''ลัดดา'' เป็นนางสาวไทยที่สื่อมวลชนบางฉบับเรียกขานเธอว่า ''บุหงาปัตตานี'' เนื่องจากเธอเข้าประกวดในนามของจังหวัดปัตตานีแม้ว่าแท้ที่จริงเธอจะเป็นชาวกรุงเทพฯ ก็ตาม ลัดดาครองตำแหน่งนางสาวไทยขณะอายุ 16 ปี เป็นธิดาของนายดิเรกข้าราชการนครบาลกรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 4 จากโรงเรียนซางตาครูซ คอนแวนด์ ''ลัดดา'' เข้าพิธีสมรสกับนายสนิท พุกประยูร มีบุตรชาย 2 คน

..................................................................






2493 : 1950


1. อัมพร บุรารักษ์ : Amporn Burarak
2. โสภิตสุดา วงประเสริฐ : Sopitsuda Wongprasert
3. วีณา มหานนท์ : Weena Maharnon
4. พรทิพย์ จันทโมกข์ : Porntip Jantamoak
5. ศรีสมร อรรถไกรวัลวที : Srisamorn Uttakraiwanwatee




อัมพร บุรารักษ์ นางสาวไทย ปีพ.ศ.2493



และในปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2492 การประกวดนางสาวไทยและงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญต้องมีอันงดจัดไป 1 ปี เนื่องจากมีคำสั่งของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจของบ้านเมืองไม่เอื้ออำนวย



ปี 2493 ได้มีการพลิกฟื้นงานฉลองรัฐธรรมนูญคืนมาอีกวาระหนึ่งพร้อมกับความคึกคักในบริเวณงานที่เต็มไปด้วยร้านรวงต่างๆ นานาจากหน่วยงานของราชการและเอกชนในปีนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดอีกครั้งหนึ่งและนับเป็นปีแรกของการประกวดที่ผู้เข้าประกวดต้องสวมชุดว่ายน้ำผ้าไหมเดินบนเวที ณ สวนอัมพรนั้นความหนาวเหน็บในปีนั้นก็มิได้ทำให้ผู้ชมงานลดน้อยถอยลงไปแต่ประการใด เนื่องเพราะมีเอื้องเหนือผู้เข้าประกวดหมายเลข 1 ซึ่งเป็นตัวแทนจากจังหวัดเชียงรายและเป็นขวัญใจของผู้เข้าชมโดยทั่วไปได้รับการขนานนามให้เป็นนางสาวไทย ประจำปี 2493 ได้แก่ นางสาวอัมพร บุรารักษ์ และผู้ได้รับตำแหน่งรองนางงาม ประกอบไปด้วย ศรีสมร อรรถไกวัลวที, วีณา มหานนท์ , โสภิตสุดา วรประเสริฐ และพรทิพย์ จันทโมกข์



''อัมพร'' เกิดที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เธอเป็นบุตรสาวคนโตในจำนวน 7 คน ของ นายบุญส่ง ข้าราชการ อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนราษฎร์ประพันธ์กุลและได้รับจากการทาบทามของผู้ว่าราชการส่งเข้าประกวดในนามของจังหวัดเชียงราย นับเป็นนางสาวไทยคนที่ 9 ของประเทศไทย และเป็นเอื้องเหนือคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งนางสาวไทยเธอได้รับตำแหน่งขณะอายุ 18 ปีต่อมาได้สมรสกับร้อยตำรวจตรี วิศิษฐ์ พัฒนานนท์ มีบุตรธิดา



...........................................................





2494 : 1951


1. อุษณีย์ ทองเนื้อด : Usanee Thongnurdee
2. สุภัทรา ทวิติยานนท์ : Supatthra Tavitiyarnon
3. บุหงา วัชโรทัย : Bu-Nga Watcharothai
4. เปล่งศรี โสภาวรรณ : Plengsri Sopawan
5. สุวรรณา กังสดาล : Suwan Kansadan

อุษณีษ์ ทองเนื้อดี นางสาวไทยปีพ.ศ.2494

การประกวดนางสาวไทย 2494 ยังคงดำเนินต่อเนื่องจากปีกลาย ณบริเวณสวนอัมพรเช่นเดิม มีผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 30 คน ในคืนประกวดวันสุดท้ายสาวงามผู้อยู่ในความสนใจของประชาชนมีอยู่หลายคน แต่ผู้ที่อยู่ในความสนใจของกรรมการมีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งผู้ที่ชนะใจกรรมการในคืนประกวดวันนั้น ได้แก่ อุษณีย์ ทองเนื้อดี สาวงามในชุดว่ายน้ำสีชมพูกลีบบัวท่ามกลางรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ สุวรรณา กังสดาร, สุภัทรา ทวิติยานนท์, เปล่งศรี โสภาวรรณ และบุหงา วัชโรทัย

''อุษณีษ์'' นางสาวไทยคนที่ 10 ของประเทศไทย เธอเป็นบุตรีคนที่ 4จากจำนวนพี่น้องรวม 8 คน ของ นายเอื้อม ผู้รับราชการเป็นผู้ช่วยสรรพสามิตจังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนสายปัญญาเข้าประกวดนางสาวไทยในนามจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการทาบทามของ หลวงอรรถไกลวัลวที บิดาของ ศรีสมรอรรถไกวัลวที รองนางสาวไทยเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของอุษณีษ์ขณะครองตำแหน่งนางสาวไทยเธอมีอายุ 18 ปีเต็มโดยเข้าร่วมประกวดพร้อมกับพี่สาว นวลละออ ทองเนื้อดี ซึ่งผ่านเข้ารอบรองสุดท้ายในการประกวดปีเดียวกันของ ''อุษณีษ์'' ความหมายที่มงคลต่อตัวเธอ อันมีความหมายว่า ''มงกุฎ'' มงกุฎของเธอซึ่งเป็นมงกุฎดิ้นเงินปักบนผ้ากำมะหยี่ดังเช่นปีที่ผ่านมาและยังมีแหวนเพชรเสียบอยู่บนเรือนมงกุฎอีกด้วย อุษณีษ์เข้าพิธีสมรสกับร้อยโท ม.ร.ว. พงษ์ดิศ ดิศกุล มีบุตรธิดารวม 5 คน


............................................................



2495 : 1952

1. ประชิตร ทองอุไร : Prachit Thong-urai
2. ดวงจันทร์ บุญศรี : Duangjan Bunsiri
3. วิจิตรา วัลลิสุดต์ : Wijittra Wanlisut
4. พยุงศรี สาคริกานนท์ : Payungsri Sar-krikanon
5. นัยนา ไชยสุต : Naiyanar Chaiyasut


ประชิตร์ ทองอุไร นางสาวไทยพ.ศ. 2495
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในปี 2495 ที่ค่อนข้างระส่ำระสายด้วยเรื่องของการจับกุมบุคคลในแวดวงการเมืองและต่างๆ ในข้อหาคอมมิวนิสต์หากงานฉลองงานรัฐธรรมนูญ 2495 ยังดำเนินต่อไปอย่างคึกคักด้วยผู้คนและห้างร้านต่างๆ ที่มาออกงานมากมายจนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานที่การจัดงานจากบริเวณสวนอัมพรไปยังบริเวณสวนลุมพินีซึ่งมีเนื้อที่กว้างกว่า และในส่วนของเวทีการประกวดนางสาวไทยที่ได้มีการจัดสร้างกันอย่างถาวรสาวงามผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยคนที่ 11 คือตัวเก็งที่อยู่ในสายตาประชาชนตลอดการประกวด ได้แก่ ''ประชิตร์ ทองอุไร'' พร้อมรองอีก 4 นางสาว ได้แก่ ดวงจันทร์ บุญศรี, วิจิตรา วัลลิสุต, พยุงศรี สาคริกานนท์ และนัยนา ไชยสุต

''ประชิตร์'' เกิดและเติบโตแถวถนนรองเมือง กรุงเทพมหานครบิดาเป็นนายตรวจสายไฟฟ้า กรมรถไฟ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จากโรงเรียนโพธิทัตได้รับการชักชวนจาก ภรรยาของ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานในสมัยนั้น โดยเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยในนาม กระทรวง เกษตราธิการหรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน
ขณะได้รับตำแหน่งนางสาวไทย ''ประชิตร์'' อายุ 18 ปี ด้วยรอยยิ้มอันงดงามบนใบหน้าอันคมคายทำให้เธอเป็นขวัญใจของวัยรุ่นในสมัยนั้นอย่างไร้ข้อกังขาและนับว่าเป็นนางสาวไทยของประชาชนอย่างแท้จริง

................................................................



2496 : 1953

1. อนงค์ (อัชชวัฒนา) นาคะเกศ : Anong Atchawattana
2. นวลสวาท ลังการ์พินธุ์ : Nuansavard Langkapin
3. เลิศลักษณ์ ศิริวิเศษ : Lertlak Sirivisade
4. อมรา อัศวนนท์ : Amara Buranon ( ตัวแทนสาวไทยคนแรกที่เข้าร่วมการประกวด มิสยูนิเวอร์ส 2497 ) First Thailand's representative in Miss Universe 1954 )
5. มารศรี ยุวนากร : Marasee Yuwanarkorn

อนงค์ อัชชวัฒนา นางสาวไทย ปีพ.ศ.2496
ปลายปี 2496 งานฉลองรัฐธรรมนูญดำเนินไปอย่างราบรื่นท่ามกลางข่าวการตัดสินคดีประทุษร้ายต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งนับเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ตกเป็นข่าวดังต่อเนื่องอยู่ในความสนใจของปวงชนชาวไทยอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การประกวดนางสาวไทยก็ได้ สาวงามผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมความงามตามแบบฉบับหญิงไทย คือ อนงค์ วัชชวัฒนา ชัยชนะของเธอครั้งนี้อยู่เหนือสาวงามผู้เข้าร่วมประกวดถึง 130 คนท่ามกลางรองอีก 4 คน คือ นวลสวาท ลังกาพินธุ์ นางสาวถิ่นไทยงาม ปี 2496, อมรา อัศวนนท์, มารศรี ยุวนาการ และเลิศลักษณ์ ศิริวิเศษ

''อนงค์'' ครองตำแหน่งนางสาวไทยขณะอายุ 18 ปีเธอเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิดเกิดและเติบโตในช่วงปฐมวัย ย่านสวนมะลิ เป็นบุตรสาวคนโตของครอบครัวมีน้องชาย 2 คนในวัยเด็กศึกษาที่โรงเรียนแก้วปัญญา และโรงเรียนสายปัญญาในระดับมัธยมก่อนที่ย้ายไปพำนักที่ สวรรคโลกและลำปาง ตามลำดับเมื่ออายุ 16 ปีขณะอยู่ลำปางเธอได้เข้าร่วมประกวดนางสาวลำปาง และพิชิตชัยชนะเป็นนางสาวลำปางก่อนที่จะเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยเพียง 2 ปีต่อจากนั้นจึงเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยในนามของกระทรวงการคลังในขณะที่ครองตำแหน่งนางสาวไทย เธอที่ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นนาน 14 วัน จากการเชิญของธนาคารมิตซุย และเป็นนางสาวไทยคนแรกที่ได้รับการขับกล่อมในคืนวันรับตำแหน่งด้วยเพลง ''นางฟ้าจำแลง'' โดยมี ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ประพันธ์ คำร้องและทำนอง ซึ่งเพลง ''นางฟ้าจำแลง'' นับเป็นเพลงอมตะของการประกวดนางสาวไทยมาจวบจนปัจจุบัน
หลังจากพ้นหน้าที่ในตำแหน่งนางสาวไทย อนงค์ได้เข้าพิธีสมรสกับ นายแพทย์ไพฑูร นาคะเกศ ให้กำเนิดบุตรชาย 2 คน อนงค์ปิดฉากชีวิตลงด้วยการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อปี 2545 สิริรวมอายุ 68 ปี

............................................................


2497 : 1954

1. สุชีลา ศรีสมบูรณ์ : Sucheela Srisomboon
2. ระเบียบ อาชนะโยธิน : Rabiab Archanayothin
3. อุทัยวรรณ เทพจินดา : Uthaiwan Debjinda
4. จงดี วิเศษฤทธิ์ : Jongdee Wisetrit
5. วาสนา รอดศิริ : Wasana Rodsiri







นางสาวไทยยุคแรก คุณสุชีลา ศรีสมบูรณ์ เป็นคนสวยอ้วนดี เป็นคนสวยท้วม สวยแบบผู้หญิงสมัยก่อน คือผู้หญิงสมัยก่อนตัวไม่โตและก็ท้วม สวยหวาน ก่อนหน้านี้เคยพลาดจากเวทีใหญ่มาแล้ว ได้รองนางสาวถิ่นไทยงาม ตอนนั้นใช้ชื่อเดิม-สมบูรณ์ ศรีบุรี พอประกวดนางสาวไทยชนะ นางสาวถิ่นไทยงามตกรอบ คุณสุชีลาประวัติชีวิตค่อนข้างน่าเห็นใจ เพราะไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิตคู่เท่าไหร่ พอเลิกกับสามีคนแรก ลูกกับแม่ไม่เคยเจอกันเลย ต่อมาไปเป็นภรรยาอีกคนของเจ้าของโรงแรมที่กำแพงเพชร

นางงามยุคใหม่ ต้องเก่งรอบด้าน [1 ก.ย. 49 - 00:31]

กิจกรรมโชว์ความสามารถของสาวงามผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 18 คน ล้วนไม่ซ้ำกัน ท่าทางคณะกรรมการต้องเวียนเฮดหนักก็คราวนี้!!


“น้องเจี๊ยบ” น.ส.ลลนา ก้องธรนินทร์ หมายเลข 7 ลูกสาวนักธุรกิจพ่อค้าเหล็ก ออกแนวไม่ซ้ำแบบใคร แต่เป็นความถนัดส่วนตัว เพราะมาในมาดนักเทควันโดสายแดง โชว์ลีลาท้าเตะต่อยกับอาจารย์ฝึกสอน ที่บึ่งมาจากกรุงเทพฯ เพื่อเป็นคู่แสดง “น้องเจี๊ยบ” ออกลีลาท่วงท่าแถมเป็นจริงเป็นจัง จนคู่ซ้อมกระเด็นกระดอนไปคนละทาง คณะกรรมการอดหวั่นใจไม่น้อย!!


“น้องน้ำตาล” น.ส.พรรณนภา ปราบภัย หมายเลข 11 ก็ขออาศัยความชำนาญเฉพาะตัว ที่กำลังเข้ายุคเข้าสมัยปีมหามงคลพอดี โชว์ลีลาการเป่าทรัมเป็ตเพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ใช้เวลา 3 นาทีที่กำหนดไว้ อย่างคุ้มค่า


“น้องก้ามปู” น.ส. เชรี่ ทรรพวสุ หมายเลข 16 เด็กในโครงการเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกาเยือนแผ่นดินแม่ ใช้ความน่ารักกับการพูดภาษาไทยกระ-ท่อนกระแท่น แต่อาศัยความตั้งใจโชว์เดี่ยวเปียโนเพลงพระราชนิพนธ์ “นกน้อย” กับ “ชะตาชีวิต” ไปพร้อมกับร้องสลับกันทั้ง 2 ภาษาระหว่างไทยกับอังกฤษ


“น้องนิ้น” น.ส.สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร หมาย เลข 2 นักกีฬา (แม่น) ปืนยาว คราวนี้ไม่ได้พกปืนไปด้วยจึงต้องแสดงความสามารถด้วยการเล่นหุ่นกระบอก ประกอบเพลงที่แต่งขึ้นเองด้วยน้ำเสียงหวานๆ เปรียบว่าตนกำลังเดินทางไปประกวดนางสาวไทย

ต่างกับ “น้องอชิ” น.ส.อชิรญาณ์ เหมือนทิพย์ หมายเลข 7 ที่ขึ้นเวทีในชุดนักมวยหญิงเต็มยศ โชว์การไหว้ครูตามศิลปะแม่ไม้มวยไทยด้วยท่วงท่าทะมัดทะแมง

นางสาวสยาม ยุคที่ 2 : พ.ศ. 2507 - 2515


2507 : 1964


1. อภัสรา หงสกุล : Apasara Hongsakula ( นางงามจักรวาล คนที่ 14 พ.ศ. 2508 ) ( Miss Universe 1965 )
2. อรัญญา นามวงศ์ : Aranya Narmwong
3. เนาวรัตน์ วัชรา : Naowarat Watchara
4. เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล : Saowanee Worapanyasakul
5. ละอองดาว กริยา : La-ongdao Kiriya





อาภัสรา หงสกุล นางสาวไทย พ.ศ. 2507



แม้ว่าจะงดจัดการประกวดนางสาวไทยไปถึง 9 ปี พร้อมๆ กับการยกเลิกงานฉลองรัฐธรรมนูญ แต่ในระยะนั้นการประกวดความงามระดับชาติก็มิได้สูญหายไปสักทีเดียว ดังเช่นการประกวดนางงามวชิราวุธที่จัดโดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2503 ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนชาวไทยได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว งานวชิราวุธานุสรณ์หรือที่คนทั่วไปเรียกสั้นๆ ว่า งานวชิราวุธฯ นั้นได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และคึกคักไม่แพ้งานฉลองรัฐธรรมนูญทีเดียว โดยมีการจัดสืบเนื่องกันมาเป็นระยะๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมาในส่วนของการประกวดนางงามวชิราวุธนั้นมีการจัดต่อเนื่องถึง 4 ปีติดต่อกัน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนเวทีการประกวดมาใช้ชื่อการประกวดในนามนางสาวไทยในปี 2507



การประกวดนางสาวไทย ประจำปี 2507 ได้มีการรื้อฟื้นการจัดการประกวดขึ้นโดยคณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ อันมี พลเอก ประภาส จารุเสถียร นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานการจัดงานด้วยเหตุผลที่เป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว อันเนื่องจากการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภาคธุรกิจ บริการและปริมาณของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในรอบ 5 ปี ( 2503 - 2507) และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยยิ่งขึ้นในรูปแบบของการส่งตัวแทนในตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงในโอกาสที่เข้าร่วมประกวดนางงามระดับนานาชาติ



ผลการประกวดนางสาวไทยในปี 2507 เป็นไปตามความคาดหมายของทุกฝ่ายสาวงามหมายเลข 28 อาภัสรา หงสกุล อันมีคณะดุสิตจิตรลดาพญาไท เป็นผู้ส่งประกวด ได้ถูกขานชื่อเป็นนางสาวไทยคนที่ 14 ของประเทศด้วยรอยยิ้มอันงดงามของสตรีไทยวัยแรกแย้ม อายุเพียง 17 ปี อาภัสราเข้ารับการสวมมงกุฎเพชร โดย คุณหญิงไสว จารุเสถียร และเข้ารับพระราชทานถ้วยทองคำหนัก 10 บาท จากพระหัตถ์ของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 7 ส่วนรองนางสาวไทยอีกสี่คนในปีนั้นก็ได้แก่ อรัญญา นามวงศ์, เนาวรัตน์ วัชรา, เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล และ ละอองดาว กิริยา
''อาภัสรา'' เป็นสตรีไทยคนแรกที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบให้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ท. เป็นผู้ลงนามในสัญญากับบริษัทมิสยูนิเวิร์ส เพื่อเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2508 และเธอก็มิทำให้ชาวไทยทั้งประเทศผิดหวัง โดยสามารถพิชิตใจกรรมการชาวต่างชาติเป็นเอกฉันท์ให้ ดำรงตำแหน่งนางงามจักรวาล 2508 (1965) โดยมีรองนางงามจักรวาลอีก 4 คน ได้แก่ นางงามฟินแลนด์, นางงามสหรัฐอเมริกา, นางงามสวีเดน และนางงามฮอลแลนด์ ตามลำดับ
''อาภัสรา'' เป็นนางงามจักรวาล คนที่ 14 ของโลก และเป็นนางงามจักรวาลคนแรกของไทย เธอยังเป็นนางงามจักรวาลคนแรกในขณะนั้นที่มีการเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 35 ประเทศ ซึ่งนับเป็นระยะทางมากที่สุดในยุคนั้นอีกด้วย ปัจจุบัน อาภัสรา มีบุตรชาย 2 คน และ ได้ดำเนินธุรกิจด้านความงามในธุรกิจสปา ในชื่อ ''อาภัสรา สลิมมิ่ง แอนด์ สปา'' ในซอยอาภาภิรมย์ ย่านรัชดาฯ



นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับกลุ่ม DTC ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, บริษัท บีบีทีวี โปรดักชั่นส์ จำกัด และบริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน) ประกาศลงนามทำสัญญากับ บริษัท มิสยูนิเวิร์ส อิงค์ สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการในการจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 2005 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยในวันที่ 31 พ.ค. 48 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี โดยมีแนวทางหลักคือ ฟื้นฟูการท่องเที่ยวของไทย 6 จังหวัดภาคใต้ หลังเหตุการณ์สึนามิ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมี อภัสรา หงสกุล อดีตมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 1965 และภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซม่อน อดีตมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 1988 ร่วมแถลงข่าวด้วย












......................................................







2508 : 1965





1. จีรนันท์ เศวตนันท์ : Jeeranan Sawaittanan ( รองนางงามนางงามจักรวาล พ.ศ. 2509 )( 2nd runner-up Miss Universe 1966 )
2. ชัชฎาภรณ์ รักษาเวช : Chatchadaporn Raksanawech
3. สุทิศา พัฒนุช : Sutisa Pattanuch
4. มะลุลี เอี่ยมศิริรักษ์ : Malulee Eiumsirirak
5. กิ่งกมล อุบลรัตน์ : Kingkamol Ubolrat





จีรนันทน์ เศวตนันทน์ นางสาวไทย พ.ศ. 2508



หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการจัดประกวดนางสาวไทย 2507 การประกวดนางสาวไทย 2508 จึงดำเนินไปอย่างคึกคัก มีการเก็บค่าดูบัตรผ่านประตูเฉพาะการประกวดนางสาวไทยได้ถึง 9 แสนบาท โดยสาวนักเรียนนอกจากอังกฤษเป็นผู้พิชิตมงกุฎเพชร นางสาวไทย คนที่ 15 เธอคือ จีรนันทน์ เศวตนันทน์ และมีรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ, กิ่งกมล อุบลรักษ์, มลุลี เอี่ยมศิริรักษ์ และ สุนิศา พัตนุช

''จีรนันทน์'' หรือ ''เล็ก'' นางสาวไทย วัย 24 ปี เป็นนางสาวไทยที่มีความสง่างามด้วยความงามสะพรั่งของวัยสาวเธอเป็นผู้สมัครเข้าประกวดนางสาวไทยเป็นคนสุดท้าย จากการเรียกตัวให้กลับจากประเทศอังกฤษโดยบิดา หลังจากที่เดินทางไปเรียนทางด้านภาษาและเปียโนควบคู่กันไปเป็นระยะเวลา 3 ปี ก่อนกลับมาร่วมประกวดนางสาวไทย จากการทาบทามของ คุณสนิท โชติกเสถียร เข้าประกวดนางสาวไทยในนามราชตฤณมัยสมาคมเป็นผู้ส่งเข้าประกวดและคว้าตำแหน่งไปในที่สุด โดยไม่มีเวลาเตรียมตัวเข้าประกวดมากนัก ก่อนเข้าประกวด
และในปีถัดมาเธอได้เข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลประจำปี 2509 (1966) ณ ไมอามี่ บีช รัฐฟลอริดา โดยสามารถพิชิตตำแหน่ง รองนางงามจักรวาล อันดับ 2 มาฝากคนไทย ซึ่งมีนางงามสวีเดนเป็นผู้ครองมงกุฎนางงามจักรวาลสืบต่อจาก คุณอาภัสรา หงสกุล นั่นเอง
''จีรนันทน์'' เคยรับหน้าที่เป็นนางสนองพระโอษฐ์รับใช้เบื้องพระยุคลบาทและเคยไปใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงระยะหนึ่ง โดยทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษาไทยให้ ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์
ปัจจุบันจีรนันทน์เป็นผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สนามกอล์ฟแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอชื่นชอบในกีฬากอล์ฟ โดยเป็นที่เลื่องลือว่าฝีมืออยู่ในระดับโปรเลยทีเดียว




...........................................................





2509 : 1966



1. ประภัสสร พานิชกุล : Prapassorn Panichakul ( นางงามมิตรภาพ ในการประกวด Miss Queen of The Pacific พ.ศ.2510 )( Miss Congeniality of Queen of The Pacific 1967 )
2. ภาสวรรณ พหุลรัตน์ : Passawan Pahularat
3. นาตยา นิยมพงศ์ : Narttaya Niyompong
4. อุไรวรรณ งามบุญสืบ : Uraiwan Ngamsurbbun

5. สุภาภรณ์ นิลเสรี : Suparporn Nilseree




ประภัสสร พานิชกุล นางสาวไทย พ.ศ. 2509

พ.ศ. 2509 การประกวดนางสาวไทย ได้จัดขึ้นบริเวณอุทยานสวนสราญรมย์ดังเมื่อ 2 ปีก่อนผลปรากฏว่าสาวงามจากจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ครองตำแหน่งนางสาวไทยคนที่ 16 ของประเทศไทย เธอคือ ประภัสสร พานิชกุล ผู้มีความโดดเด่นที่ใบหน้าอันงดงามตามวัยอันสดใสของเธอในขณะนั้น ที่มีอายุเพียง 16 ปี บวกกับเรือนร่างอันสมส่วนบนความสูงถึง 164 เซนติเมตร ทำให้เธอชนะใจกรรมการไปในที่สุด พร้อมด้วยรองอีก 4 คน ได้แก่ อุไรวรรณ งามบุญสืบ, นาตยา นิยมพงศ์, ภาสวรรณ พหุลรัตน์ และ สุภาภรณ์ นิลเสวี
''ประภัสสร'' หรือ ''แดง'' เป็นลูกกำพร้าเกิดและเติบโตโดยการดูแลของน้าสาวที่จังหวัดลพบุรี เธอสำเร็จการศึกษาด้านการเสริมสวยจากโรงเรียนเสริมสวยดาวรุ่ง ก่อนเข้าร่วมประกวดนางสาวไทย เธอได้รับตำแหน่งนางงามบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีมาก่อน ขณะดำรงตำแหน่งนางสาวไทย เธอมิได้เดินทางไปร่วมประกวดนางงามจักรวาล เนื่องจากอายุเธอไม่ถึงเกณฑ์ประกวดของกองประกวดนางงามจักรวาล แต่เธอก็ได้มีโอกาสเดินทางไปเยือน ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น ทั้งยังมีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศได้เข้าร่วมประกวดนางงาม ที่ประเทศออสเตรเลีย และเธอก็ได้รับตำแหน่งนางงามผู้สง่างาม มาฝากคนไทยอีกด้วย

ประภัสสร หรือ จิตประภัสสร ในปัจจุบัน เธอมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นกับ พล.ต.ต.เทอดพงษ์ เทียนสุวรรณ มีทายาทด้วยกัน 3 คน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ กรุณพล เทียนสุวรรณ นักแสดงหนุ่มชื่อดัง และมีร้านอาหารจิตประภัสสร ย่านประชาชื่น เป็นธุรกิจเล็กๆ ที่เธอทำมานานอีกด้วย





............................................................................




2510 : 1967



1. อภันตรี ประยุทธเสนีย์ : Apantree Prayuttasenee( ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม ในการประกวดมิสยูนิเวอร์ส พ.ศ 2511 ) ( Best in Swimsuit, Miss Universe 1968 )
2. รุ่งทิพย์ ภิญโญ : Rungtip Pinyo ( รองอันดับ 4 นางงามนานานชาติ และขวัญใจช่างภาพ พ.ศ.2511 ณ ประเทศญี่ปุ่น )( 4th runner-up and Miss Photogenic of Miss International 1968 )
3. บุญตา ศรีแผ้ว : Bunta Sripaew
4. พัชรินทร์ ไพรอุดม : Patcharin Prai-udom
5. พินนะรัฐ ทะนันไช่ย : Pinnarat Tananchai




อภันตรี ประยุทธเสนีย์ นางสาวไทย พ.ศ. 2510



การประกวดนางสาวไทย พ.ศ. 2510 ได้มีการจัดประกวดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของสมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธเป็นปีที่ 4 หลังจากประสบความสำเร็จจากการจัดประกวดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา อภันตรี ประยุทธเสนีย์ เป็นสาวงามอีกผู้หนึ่งที่ได้ครองตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ โดยมีราชตฤณมัยสมาคมส่งเข้าชิงตำแหน่งนางสาวไทย ปี 2510 และประสบความสำเร็จในที่สุด
การประกวดในปีนั้นดำเนินไปอย่างคึกคักและมีการลุ้นกันระหว่างสองผู้เข้าประกวดที่มีความงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในสายตาของผู้ชม คือ อภันตรี และ รุ่งทิพย์ ภิญโญ สาวงามจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ พ่วงท้าย โดยรุ่งทิพย์พ่ายชัยชนะให้แก่อภันตรี จึงได้รับตำแหน่งรองนางสาวไทยพร้อมกับเพื่อนผู้เข้าประกวดอีก 3 คนที่ได้รับตำแหน่งรองในคราวเดียวกัน คือ พินนะรัฐ ทนันไชย, พัชรินทร์ ไพรอุดม และ บุญตา ศรีแผ้ว

''อภันตรี'' หรือ ''ปุ้ย'' เป็นบุตรีของนายทหาร ร่วมประกวดนางสาวไทยในนามราชตฤณมัยสมาคมเป็นผู้ส่งเข้าประกวดโดยเธอมิเคยผ่านเวทีประกวดนางงามมาก่อน เธอมีดวงตาที่กลม ใบหน้าหวานงดงาม ครองตำแหน่งนางสาวไทยคนที่ 17 เมื่ออายุ 19 ปี ในปีถัดมา อภันตรีเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล ณ ไมอามี่ บีช รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา แม้ว่าเธอจะพลาดตำแหน่งนางงามจักรวาล แต่เธอก็เป็นผู้หนึ่งที่เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย ด้วยความสง่างามและสะดุดตาผู้ที่ได้พบเห็นและเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมากปัจจุบัน อภันตรี มีบุตรสาว 1 คน และเธอยังคงความงามเช่นเดิม โดยมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน ททท. หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย





...................................................................





2511 : 1968




1. แสงเดือน แม้นวงศ์ : Sangdern Manwong ( แต่งกายชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ในการประกวดมิสยูนิเวอร์ส พ.ศ. 2512 ) ( Best National Costume of Miss universe 1969 )
2. เนตรทราย ชลาธาร : Naitsai Chalartorn
3. มีตทีรา ภัทรนาวิน : Mitteewa Pataranawin
4. ศรีมาย ทิพย์มณฑา : Srimai Tipmontha (ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน- Miss Photogenic)
5. จันทร์พร สุรินทร์เปาว์ : Janporn Surinpao






แสงเดือน แม้นวงศ์ นางสาวไทย พ.ศ. 2511

พ.ศ. 2511 แสงเดือน แม้นวงศ์ คือผู้ที่ครอบครองตำแหน่งนางสาวไทย ในฐานะตัวแทนของบริษัท เมืองทองไซโก้ ซึ่งมี คุณบุรินทร์ วงศ์สงวน สถาปนิกชื่อดังของเมืองไทยผู้ออกแบบมงกุฎนางสาวไทยหลายสมัยเป็นผู้สนับสนุนส่งเข้าประกวด เธอเป็นสตรีไทยคนแรกและคนเดียวที่มีหุ่นขี้ผึ้งในชุดไทยเรือนต้นสวมมงกุฎโชว์อยู่ในฮ่องกงส่วนสาวงามผู้มีความงามเป็นรองเธอที่ครองตำแหน่งรองนางสาวไทยทั้ง 4 คน ได้แก่ เนตรทราย ชลาธาร ผู้มีตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ 2511 พ่วงท้าย, ศรีมาย ทิพย์มณฑา ผู้มีตำแหน่งนางสาวลำปางพ่วงท้าย, มิตทีรา ภัทรนาวิน และ จันทรพร สุรินทร์เปาว์ โดยในปีนี้ได้มีการประกาศผลตำแหน่งขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การประกวดนางงามในประเทศไทย ได้แก่ ศรีมาย ทิพย์มณฑา รองนางสาวไทย นั่นเอง

''แสงเดือน'' สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนศึกษานารีและเข้าทำงานเป็นพนักงานฝึกหัด ณ ธนาคารออมสินก่อนเข้าร่วมประกวดนางสาวไทย ในการประกวดนางงามจักรวาล ที่หาดไมอามี่ ในปี 2512 เธอสามารถพิชิตตำแหน่งชนะเลิศนางงามผู้แต่งกายในชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ด้วยชุดไทยตามแบบละครรำสวมชฎาเป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ชมทั่วโลกเป็นอย่างยิ่งปัจจุบันหลังจาก แสงเดือน สมรสกับ นิเวศน์ พร้อมพันธุ์ โดยมีพยานรักเป็นธิดา 2 คน นอกจากจะเป็นแม่ศรีเรือนแล้ว ยังดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปอีกด้วย




....................................................................





2512 : 1969



1. วารุณี แสงศิรินาวิน : Warunee Saengsirinavin ( ตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวอร์ส ปี 2514 เนื่องจากวารุณี แสงศิรินาวินมีอายุไม่ครบตามที่กองประกวดกำหนดในปี 2513 )( Thailand's representative in Miss Universe 1970)
2. พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ : Phanarat Pisuttisak ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน -ชุดไทยยอดเยี่ยม( ชุดไทยจิตรดา) (Miss Photogenic - Best in Thai Jitrada Costume)
3. ษุศราภรณ์ ธีรทรัพย์ : Butsaraporn Teerasub
4. ลดาวัลย์ ยิ่งยง : Laddawan Yingyong
5. ปริยา ศรีวิชัย : Preeya Sriwai


วารุณี แสงศิรินาวิน นางสาวไทย พ.ศ. 2512



พ.ศ. 2512 วารุณี แสงศิรินาวิน สาวงามผู้ที่สมาคมพ่อค้าไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้สนับ สนุนส่งเข้าประกวด สามารถพิชิตตำแหน่งนางสาวไทย พ.ศ. 2512 ด้วยใบหน้าและเรือนร่างที่งดงาม โดยเฉพาะเรียวขาอันเรียวงามที่มีผู้กล่าวขวัญกันเป็นอย่างมาก โดยมีรองนางสาวไทยร่วมรุ่นอีก 4 คน ได้แก่ พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ ที่ควบอีก 2 ตำแหน่ง ได้แก่ แต่งกายชุดไทยจิตรลดางาม และ ขวัญใจช่างภาพ, ลดาวัลย์ ยิ่งยง, บุษราภรณ์ ธีระทรัพย์ และ ปริยา ศรีวิชัย ตามลำดับ

''วารุณี'' หรือ ''เปีย'' เป็นนางสาวไทยคนที่ 19 ของประเทศไทย เป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด เกิดและเติบโตย่านมหานาค เธอเป็นผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งนางสาวไทยถึง 2 ปีติดต่อกัน เนื่องจากในปีถัดมาสถานการณ์สงครามอินโดจีนอยู่ในภาวะรุนแรง ด้วยเหตุผลของความไม่เหมาะสมที่จะจัดงานสนุกสนานบันเทิง คณะกรรมการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์จึงมีมติให้งดการประกวดนางสาวไทยไป 1 ปี เธอได้ร่วมกับนางสาวไทยรุ่นพี่ไปร่วมงานเอกซโป 1970 ที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลในปี 2514 โดยเป็นสาวงามผู้มีอายุน้อยที่สุดของการประกวดครั้งนั้น
ปัจจุบันในวันนี้ของ วารุณี ความสุขอยู่ที่การทำงานในธุรกิจของครอบครัวเกี่ยวกับสิ่งทอ รวมทั้งการทำหน้าที่เป็นศรีภรรยาของ ตรีทิพย์ เตลาน



.............................................................







2514 : 1971




1. นิภาภัทร สุดศิริ : Nipapat Sudsiri
2. สรินยา ทัตตวร : Srinya Tattaworn
3. เปรมฤดี เสริมสิริ : Prame-rudee Sermsiri
4. ศรัญญา ทองขจร : Saranya Thongkajorn
5. เยาวเรศ ภูมิศิลป์ : Yaowaret Bhumisil


รางวัลพิเศษ Special Awards

สุนิสา พรหมนิเวศม์- ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน Sunisa panomniwai -Miss Photogenic




นิภาภัทร สุดศิริ นางสาวไทย พ.ศ. 2514



การประกวดนางสาวไทยได้มีการดำเนินต่อมาอีกครั้งในปี 2514 นิภาภัทร สุดศิริ เป็นสาวงามผู้พิชิตตำแหน่งนางสาวไทยไปอย่างงดงาม ท่ามกลางรองนางสาวไทย 4 คน ได้แก่ สิรินยา ทัตตวร, เปรมฤดี เสริมสิริ, ศรัญญา ทองขจร และ เยาวเรศ ภูมิศิลป์ ตามลำดับ โดยมี สุนิสา พรหมนิเวศน์ เป็นขวัญใจช่างภาพ ประจำปี 2514 และ เปรมฤดี เสริมสิริ รองนางสาวไทย ได้เป็น นางงามชุดไทยจิตรลดา อีกหนึ่งตำแหน่ง

''นิภาภัทร'' หรือ ''เล็ก'' ได้รับการสนับสนุนเข้าประกวด โดย บริษัท เสริมสุข จำกัด ''เป๊ปซี่'' เป็นผู้ส่งเข้าประกวด ก่อนเข้าประกวด เธอเป็นนางฟ้าของ บริษัท การบินไทย เธอมีเรือนร่างที่สูงโปร่งถึง 170 เซนติเมตร
ในปีถัดมา ''นิภาภัทร'' ได้เดินทางไปประกวดนางงามจักรวาล ณ ประเทศเปอร์โตริโก แม้ว่าจะไม่ได้ ตำแหน่งสูงสุดของการประกวด แต่รอยยิ้มอันประทับใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป ต่างกล่าวขวัญถึง มิสไทยแลนด์ อย่างชื่นชม ตลอดการเก็บตัวสองสัปดาห์ตลอดการประกวดในครั้งนั้น
ปัจจุบัน หลังจากสมรสกับ จตุพร สีหนาทกถากุล นักธุรกิจผู้มีกิจการหลายสิบอย่าง เช่น โรงแรมแลนด์มาร์ค สุขุมวิท, โรงแรมสยาม เพชรบุรีตัดใหม่, บริษัท สี




.....................................................




2515 : 1972




1. กนกอร บุญมา : Kanok-orn Bunma
2. แสงอรุณ จิตใจ : Saeng-arun Jitjai
3. สุดเฉลียว รอดบุญธรรม : Sudchaleaw Rodbuntham ( รองอันดับ 1 นางงามนานาชาติ พ.ศ.2516 ณ ประเทศญี่ปุ่น )( 1st runner-up Miss Young International 1973 )
4. ปริศนา โลหะนันท์ : Prissana Lohanan
5. สุดสวาท สมโนทัย : Sudsawas Somnothai


รางวัลพิเศษ Special Awards

ภรินทร กรเพชร - ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน Parintorn Kornpetch- Miss Photogenic
รุ่งทิวา ศรีวรกุล - ชุดไทยยอดเยี่ยม ( ชุดไทยจิตรดา) ( รองอันดับ 4 มิสเอเซียแปซิฟิก 2516 และตำแหน่งชุดประจำชาติยอดเยี่ยม )Rungthiva Sivorakul - Best in Thai Jitrada Costume ( 4th runner-up & Best National Costume of Miss Asia Pacific 1973 )




กนกอร บุญมา นางสาวไทย พ.ศ. 2515

พ.ศ. 2515 เป็นปีสุดท้ายในยุคที่ 3 ของการประกวดนางสาวไทย ผู้ได้รับตำแหน่งในปีนั้น คือ กนกอร บุญมา สาวงามจากจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีผู้ส่งเข้าประกวดคือภัตตาคารแม่น้ำ และมีรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ แสงอรุณ จิตต์ใจ, สุดเฉลียว รอดบุญธรรม, สุดสวาท สมโนชัย และ ปริศนา โลหะนันท์ โดยมี ภรินทร กรเพชร เป็นขวัญใจช่างภาพ ประจำปี 2515 และ รุ่งทิวา ศรีวรกุล ได้เป็น นางงามชุดไทยจิตรลดา

''กนกอร'' หรือ ''วัชรี เภามา'' พื้นเพเดิมเป็นชาวแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา อดีตนักเรียนเสริมสวยจากโรงเรียนเสริมสวยแอนนา เข้าร่วมประกวดนางสาวไทยโดยการชักชวนของอาจารย์ อรุณี สามโกเศศ เจ้าของ โรงเรียนเสริมสวยแอนนา เธอเป็นนางสาวไทยคนที่ 21 ของประเทศไทย เธอเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลที่ประเทศกรีซ ในปี 2516 ร่วมกับสาวงามอีกเกือบร้อยประเทศทั่วโลก แม้ว่าจะไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ กลับมา แต่เธอก็ได้ฝากรอยยิ้มและไมตรีจิตอันดีงามของชาวไทยไปเผยแพร่แก่ชาวโลกอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันหลังจากสมรสกับ สุวิทย์ พงษ์จรัสพันธุ์ เมื่อ 18 พฤษภาคม 2518 แล้ว กนกอรได้มาเป็นแม่บ้านอย่างเต็มตัว รวมไปถึงช่วยดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเชลล์ สุรนารีบริการ และห้างหุ้นส่วนจำกัดอุปกรณ์ค้าไม้ของสามี ที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา


...................................................

นางสาวสยาม ยุคที่ 1 : พ.ศ. 2477 - 2483 ( นางงามพระนคร ) ( ยุค 1) Miss Siam ( Miss Pranakorn )



ตามประวัติการประกวดนางสาวไทยนั้น แบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน

ยุคแรก คือ พ.ศ.2477 ถึง พ.ศ.2483 และ พ.ศ.2491 ถึง พ.ศ.2497
ยุคที่สอง คือ พ.ศ.2507 ถึง พ.ศ.2515
ยุคที่สาม คือ พ.ศ.2527 ถึงปัจจุบัน

ตามที่ทราบว่าการประกวดนางงามในบ้านเรา มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๗๗ จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญอันยิ่งใหญ่ ที่ทางการจัดขึ้นเป็นครั้งแรก


ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เรียกชื่อเป็น ‘การประกวดนางสาวสยาม’ ตามชื่อประเทศก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย การประกวดนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสีสันสำคัญในงานฉลอง
ในที่สุดสาวงามจากพระนครวัย ๒๐ ปี ‘กันยา เทียนสว่าง’ ก็เป็นผู้พิชิตตำแหน่งแห่งเกียรติยศ และเป็นผู้เปิดตำนานความงามของไทย












2477 : 1934

กันยา เทียนสว่าง : Kanya Teinsawang



กันยา เทียนสว่าง (นางสาวไทยคนแรก พ.ศ.2477)

ในยุคนั้น ชื่อตำแหน่งเป็น Miss Siam ( Miss Pranakorn ) นางสาวสยาม ( นางงามพระนคร )
การประกวดนางสาวสยามครั้งแรกได้จัดขึ้นในบริเวณ สวนสราญรมย์ ในงานฉลองรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2477 ซึ่งนับเป็นงานฉลองรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานอันประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นและมีคณะกรรมการตัดสิน อันได้แก่ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาและ เจ้าพระยารามราฆพ เป็นต้น
ในปีนั้นมีผู้สมัครทั้งสิ้น 50 รายเศษ มีวิธีการคัดเลือกนางงามโดยแบ่งการประกวดเป็น 4 คืน กำหนดให้คืนวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 เป็นวันตัดสินและมีผู้เข้ารอบสุดท้ายเพียง 16 คนปรากฏกายบนเวทีประกวดในชุดที่กำหนดให้ใส่ประกวดคือ ชุดราตรีสโมสรในที่สุด กันยา เทียนสว่าง นางงามจากจังหวัดพระนครก็ได้รับการตัดสินด้วยมติเอกฉันท์ ให้เป็นนางสาวสยามคนแรกแห่งสยามประเทศ

''กันยา'' มีนามเดิมว่า ''ลูซิล'' เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2456 ขณะที่เข้าประกวดมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ ด้วยเหตุที่เธอมีใบหน้าอันคมคายค่อนไปทางฝรั่ง จมูกโด่งริมฝีปากบาง รูปร่างสูง ทรวดทรงสมส่วนมีผิวเนื้อสองสีแต่ค่อนข้างขาวตามแบบชาวสยามโดยสมบูรณ์จึงได้รับการคัดเลือกให้ได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของผู้เฝ้าชมการประกวดโดยทั่วไปในปีนั้น

หลังจากพ้นตำแหน่งนางสาวสยามเธอเข้าพิธีสมรสกับ ดร. สุจิต หิรัญพฤกษ์ มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 5 คน และกันยาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในมดลูกโดยปิดฉากชีวิตด้วยวัยเพียง 46 ปี


เป็นลูกครึ่งคนแรกหรือเปล่าไม่รู้นะ แต่ว่าชื่อภาษาอังกฤษว่า ลูเซีย-สวย-สวยจนสุดท้ายเลย ประวัติชีวิตดีมากเลย รุ่นแรก ๆ ประวัติจะดีมากทุกคน ประวัติอย่างนี้มีในหนังสือพิมพ์สมัยก่อน อย่างสุชีลาเคยเล่นหนังด้วยนะสองเรื่อง แต่จำชื่อไม่ได้ ไม่ดังตอนหลังก็เลยไปใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด ก่อนรุ่นที่สองนั้น 4 ปีมีประกวดมา 4 ครั้ง ใช้ชื่อการประกวด การแต่งกายสุภาพสตรีงาม ปีแรก พ.ศ.2503 รัชนี บุญญานันท์ ได้ ถัดมาอีก 3 ปีมี พ.ศ.2504 นงคราญ กลสุต พ.ศ.2505 จิตตรา ไวถนอมสัตว์ และ พ.ศ.2506 พนิดา มหาวงศ์
เรื่องราวของคุณกันยา เทียนสว่าง หรือหิรัญพฤกษ์ ภายหลังแต่งงาน ยังอยู่ในความทรงจำของผู้ใกล้ชิดตลอดจนผู้คนร่วมสมัยและผู้ที่สนใจ แม้ว่าเธอจะจากไปกว่า ๔๕ ปีแล้ว





“เกี่ยวกับเรื่องการประกวด แม่ไม่ค่อยเล่าให้ฟังหรอกค่ะ อาจเป็นเพราะเรายังเด็กกัน ก็ไม่กล้าซักไม่กล้าถามอะไร อีกอย่างที่บ้านเราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องชื่อเสียง ทำให้รู้เรื่องส่วนนี้ของแม่น้อยมาก”
คุณสุกันยา นิมมานเหมินท์ ลูกสาวคนแรกของคุณกันยา พูดถึงคุณแม่ด้วยน้ำเสียงสดใส
“เคยถามเรื่องมงกุฎเหมือนกัน แม่บอกว่าถูกขโมยไปแล้ว ตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงาน เรื่องประกวดที่ทราบก็ฟังจากผู้ใหญ่เล่า คือเวลาไปประกวด แม่แอบหนีไปประกวดนะคะ

หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ท่านทราบดี เพราะท่านก็ได้ช่วยแต่งตัวให้เข้าประกวด ตอนนั้นแม่อยู่กับคุณยายที่โรงเรียนสวนเด็ก คุณยาย ท่านนี้เป็นญาติกัน เพราะแม่เป็นลูกกำพร้า…แล้วทางนี้เขาเป็นมอญ ตระกูลแม่มีเชื้อสายมอญค่อนข้างถือเรื่องศักดิ์ศรี
เพราะฉะนั้นการไปทำเรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าอับอายสำหรับพวกเขา พอวันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์ลงข่าวการประกวด คุณยายอายมาก แม่ก็ถูกเอ็ดถูกต่อว่าใหญ่เลย ก็อาจจะเป็นเหตุหนึ่งทำให้แม่ไม่ค่อยอยากจะพูดถึงเท่าไหร่…
คือแม่เสียตอนดิฉันอายุ ๑๕ ดิฉันเป็นลูกคนโตในจำนวนลูก ๕ คน ตอนเด็กก็เคยมีคนบอกนะคะว่าเราเป็น ‘สำเนากันยา’ แต่ยิ่งโตมาก็ยิ่งไปเหมือนพ่อ ไม่ค่อยเหมือนแม่เท่าไหร่ คือแม่จะสวย หน้าตาคมคาย ตาโตคล้ายๆ แขก”
การประกวดเป็นเพียงเรื่องราวเสี้ยวหนึ่งที่ลูกๆ ได้รู้จักคุณแม่ในฐานะผู้เป็นตำนานนางสาวไทยคนแรก ทว่าความทรงจำที่มีต่อคุณแม่แล้ว มีสิ่งให้จดจำไม่มีที่สิ้นสุด
“ถึงอยู่กับแม่ไม่นาน แต่ก็ภูมิใจที่แม่เป็นแม่ ท่านไม่ค่อยเข้มงวด เพียงแต่สอนมารยาทมั่ง อะไรมั่ง ไม่เคยว่า ดุเท่าที่จำเป็น ตอนนี้ยิ่งแก่ตัวยิ่งคิดถึงแม่ค่ะ ถึงแม่จากไปแล้ว แต่ก็จะมีคนพูดถึงคุณแม่อยู่เสมอค่ะ เพราะคุณแม่เป็นคนดี จิตใจดี เป็นคนที่รื่นเริงตลอด
ทำให้คนที่อยู่รอบข้างสนุกสนาน หัวเราะได้ตลอด ส่วนความทุกข์ก็เก็บไว้ แล้วแม่ก็ชอบช่วยเหลือทุกคน งานสังคมสงเคราะห์แม่ก็ชอบทำ ที่ไปบ่อยๆ ก็ไปช่วยงานสโมสรวัฒนธรรมหญิง เพราะแม่นับถือกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ท่านก็เรียกตัวไปช่วย ส่วนตัวแม่เป็นแม่บ้านแม่เรือนค่ะ ชอบทำกับข้าว เย็บปักถักร้อย เป็นคนรักสวยรักงาม ช่างแต่งตัว เสื้อผ้าแม่ก็ต้องตัดเย็บเอง
ชอบตัดเสื้อผ้าให้ลูกๆ เหมือนกันหมดทั้ง ๕ คน แบบผู้ชาย แบบผู้หญิง … แม่เป็นผู้หญิงชาวบ้าน ก็เลี้ยงลูกแบบธรรมดา ไม่ได้เอาอกเอาใจ … แต่พ่อกับแม่เลี้ยงลูกแบบฝรั่ง คือให้มีเสรีภาพทางความคิดและการดำเนินชีวิต”

ในสายตาของลูกๆ แล้ว คุณกันยาเป็นผู้หญิงทีมีความเข้มแข็งและอดทนสูง
“แม่เป็นคนไม่ให้ใครต้องมากังวลว่าแม่เจ็บปวด หรือไม่สบาย ตอนเจ็บหนักก่อนที่แม่จะเสีย คือแม่เป็นมะเร็ง ช่วงนั้นแม่นอนเจ็บ แต่ก็ไม่เคยแสดงความเจ็บให้ใครเห็นเลย จนตายก็ไม่เคยร้อง อย่างมากถ้าเจ็บ แม่ก็หน้านิ่วคิ้วขมวด
แม่เป็นคนที่กล้าหาญและเข้มแข็งมากค่ะ เพราะว่ากลัวลูกจะเสียใจ ความที่ไม่ต้องการให้คนอื่นเสียใจ ก็ไม่แสดงอะไรออกมาให้เห็น ทุกข์ก็ทุกข์คนเดียว ขอทำให้คนอื่นมีความสุข นั่นคือแม่ เพราะฉะนั้น คนจะนึกถึงแม่ในความดีของแม่ ความเป็นตัวแม่ มากกว่าการที่ได้เป็นนางสาวสยาม”


...................................











2478 : 1935

วณี เลาหเกียรติ : Wanee Laohakeit


วณี เลาหเกียรติ นางสาวสยามปี พ.ศ. 2478

ปีถัดมาก็ได้มีการจัดประกวดนางสาวสยามขึ้นอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกนางงามอย่างละเอียดลออ โดยพิจารณาจากทรวดทรงผิวเนื้อ ตลอดจนเส้นผม และฟัน เป็นต้น ส่วนชุดที่กำหนดให้นางงามสวมใส่ในการประกวดบนเวทีนั้นคือ ชุดไทย ห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าและมิให้สวมใส่รองเท้าเดินประกวดบนเวทีสาวงามที่ได้รับตำแหน่งนางสาวสยาม ปี พ.ศ. 2478 คือ วณี เลาหเกียรติ ซึ่งเป็นนางงามจากพระนครเช่นเดียวกับปีที่แล้วมาผู้ที่ทำหน้าที่สวมมงกุฎให้นางงามในปีนั้นคือ หม่อม กอบแก้ว อาภากร โดยมี นางสาวนครสวรรค์ ยินดี บุหงางาม เป็นนางงาม ลำดับที่ 2

''วณี'' เป็นสาวงามที่มีใบหน้างดงาม ยิ้มหวานหยด เธอนับถือศาสนาคริสต์และเป็นธิดาคนเดียวของพ่อแม่ มีย่าเป็นเจ้าของห้างใหญ่ที่มีชื่อในสมัยนั้นทั้งยังเป็นเจ้าของที่ดินมากมาย จัดว่าเป็นผู้มีฐานะดีพอสมควรในขณะที่เข้าประกวดสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และกำลังจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทว่าได้มาเป็นนางสาวสยาม ปีพ.ศ. 2478 เสียก่อน หลังจากได้รับตำแหน่งนางสาวสยาม 4 ปีเธอได้เข้าพิธีสมรสกับ นายแพทย์มานิตย์ สมประสงค์ ขณะอายุ 20 ปี มีบุตรธิคา ทั้งสิ้น 3 คน ปัจจุบัน วณี ในวัย 87 ปี มีความสุขกับลูกหลาน ทั้งยังได้เดินทางไปพำนักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาบ้างเป็นครั้งคราว

........................................................



2479 : 1936

วงเดือน ภูมิรัตน์ : Wongdern Bhumirat


วงเดือน ภูมิรัตน์ นางสาวสยาม ปี พ.ศ. 2479

ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเครื่องแต่งกายอีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดให้นุ่งผ้าลายโจงกระเบน ห่มสไบจีบ ทิ้งชายลงเบื้องหลังการประกวดในปีนั้นมีจำนวนผู้เข้าประกวดมากมายถึง 200 กว่าคน โดยมีสาวงามที่ได้รับการจับตามองมาโดยตลอด คือ วงเดือน ภูมิรัตน์ และผลการประกวดก็เป็นไปตามความคาดหมาย ''วงเดือน'' เป็นนางสาวสยามคนที่สามต่อจาก กันยา และวณี ''วงเดือน'' เกิดที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรีคนที่ 6 ในจำนวนบุตรทั้งหมด 10 คน ของ พระพิชัยบุรินทรา (สอาด ภูมิรัตน์) ผู้เคยเป็นเจ้าเมืองพระประแดงและเมืองสมุทรสาคร และ คุณนายเล็ก ภูมิรัตน์ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสมุทรสาครต่อมาได้ศึกษาความรู้ด้านการเรือน เช่นการจัดดอกไม้การจัดโต๊ะอาหารทางไปรษณีย์ที่โรงเรียนภาณุทัต เธอร่วมเข้าประกวดในนามหนังสือพิมพ์ สยามราษฎร์ ขณะรับตำแหน่งนางสาวสยามมีอายุเพียง 14 ปี นับเป็นนางสาวพระนครคนที่สามที่ได้ครองตำแหน่งนางสาวสยาม


.......................................................




2480 : 1937

มยุรี วิชัยวัฒนะ : Mayuree Wichaiwattana



มยุรี วิชัยวัฒนะ นางสาวสยาม ปี พ.ศ. 2480
การประกวดนางสาวสยามปี พ.ศ. 2480 มีผู้เข้าประกวดคับคั่งเช่นเคย รวมทั้งมี 2 อดีตนางสาวสยาม วณี เลาหเกียรติ และ วงเดือน ภูมิรัตน์ ร่วมประกวดด้วยอีกครั้ง เนื่องจากยังไม่มีข้อห้ามอดีตนางสาวสยามเข้าประกวดจึงมีผู้ใหญ่ในวงสังคมขณะนั้นขอร้องให้เธอทั้งสองเข้าประกวดเพื่อเป็นการช่วยชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ตามในที่สุดผู้ชนะเลิศที่ได้รับการคัดเลือกให้ครองตำแหน่งนางสาวสยาม ปีพ.ศ. 2480 ก็คือ นางสาวมยุรี วิชัยวัฒนะ สาวงามจากกรุงเทพฯผู้ซึ่งได้รับการทาบทามจากท่านข้าหลวงจังหวัดอยุธยาให้เข้าร่วมประกวดในฐานะที่เป็นตัวแทนของจังหวัดอยุธยานั่นเอง ด้วยความที่เป็นสาวน้อยดวงตาคมวงหน้าหวาน รอยยิ้มละมุน ผิวสีน้ำผึ้ง สมเป็นสตรีไทยอย่างแท้จริง

''มยุรี''ได้รับการคัดเลือกเป็นนางสาวสยามคนที่ 4 ขณะอายุ 16 ปี เธอเป็นธิดาของช่างชุบทอง เกิดและเติบโต ย่านเสาชิงช้า เคยย้ายไปใช้ชีวิตอยู่แถวบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านเดิมของผู้เป็นมารดา จากนั้นอายุ 12 ปี เธอจึงย้ายกลับมายังพระนครอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเข้าประกวดนางสาวสยาม จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมที่ ๑ หลังจากรับตำแหน่งนางสาวสยามไม่ครบปี มยุรีได้ เข้าพิธีสมรสกับ ร้อยโท อาจ เจริญศิลป์ มีบุตรธิดารวม 5 คน

................................................




2481 : 1938
1. พิสมัย โชติวุฒิ : Pissamai Chotiwut
2. เสริมสุข จันทรเวคิน : Sermsuk Jantaravekin
3. ลำดวน ดับทุกข์รัฎฐ์ : Lamduan Dabtukrat
4. สันทนา ลิมปิติ : Luntana Limpiti
5. สุคนธ์ นาวารัตน์ : Sukhon Navarat



ปีพ.ศ. 2481 การแต่งกายของผู้เข้าประกวดยังคงเป็นเช่นเดิมในชุดห่มสไบจีบนุ่งผ้าโจงกระเบน เช่นเดียวกับปีก่อน แต่ในส่วนของการตัดสินนั้นได้มีการเพิ่มตำแหน่งรองนางสาวสยามขึ้นอีก 4 ตำแหน่ง สาวงามที่เข้าร่วมประกวดชิงตำแหน่งนางสาวสยามในปีนั้นมีถึง 101 คน แต่มีโอกาสขึ้นเวทีประกวดเพียง 94 คน เนื่องจากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามกำหนดในเรื่องของอายุที่ไม่ถึงเกณฑ์ประกวดและผลการคัดเลือก ก็เป็นไปตามความคาดหมายเช่นเคย นางสาวพิสมัย โชติวุฒิ สาวงามจากอำเภอบ้านทวาย จ.พระนคร คือผู้ที่ได้รับประชามติจากคณะกรรมการตัดสินให้ครองตำแหน่งนางสาวสยาม ปีพ.ศ. 2481 โดยมีรองนางสาวสยาม 4 คน ประกอบด้วย เสริมสุข จันทรเวคิน , ลำดวน ดับทุกข์รัฏฐ์ , สันธนา ลิ้มปิติ และ สุคนธ์ นาวารัตน์ ตามลำดับ
1
แม้ว่าครั้งนี้จะเป็นชัยชนะครั้งแรกบนเวทีนางสาวสยามของพิสมัยแต่เป็นการประกวดครั้งที่ 2 ของเธอ เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2480 เธอได้เข้าร่วมประกวดแล้วครั้งหนึ่ง แต่พลาดตำแหน่งไปอย่างน่าเสียดาย
''พิสมัย'' ได้รับคัดเลือกและตัดสินให้เป็นนางสาวสยามคนที่ 5 ด้วยวัย 18 ปี ซึ่งขณะเข้าประกวดเธอมีความสวยเด่นมาแต่ต้น และมีความงามพร้อมกว่าปีก่อนจึงกำชัยชนะไปในที่สุดเธอเป็นบุตร คนสุดท้องของครอบครัวพี่น้องจำนวน 8 คน จบการศึกษาจากโรงเรียนราษฎร์วิทยา หลังจากครองตำแหน่งนางสาวสยามปีเศษเธอได้เข้าพิธีสมรสกับ นายเล็ก ตันเต็มทรัพย์ ผู้มีอาชีพทนายความในขณะนั้นพิสมัย กำเนิดบุตรชาย 2 คน เธอมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น และสมบูรณ์ ก่อนจะปิดฉากชิวิตลงด้วยวัย 67 ปี ด้วยโรคหัวใจในปีพ.ศ. 2531

.......................................

2482 : 1939
1. เรียม เพศยนาวิน : Riam Pessayanavin
2. มาลี พันธุมจินดา : Malee Pantumajinda
3. เจริญศรี ปาศะบุตร์ : Jarernsri Pasabut
4. ลำยอง สู่พาณิชย์ : Lamyom Suupanich
5. เจียมจันทร์ วานิชาจร : Jiamjan Wanichajorn



การประกวดนางสาวสยามในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อการประกวดจาก นางสาวสยาม ให้เป็น ''นางสาวไทย'' ตามชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ รวมไปถึงเรื่องเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดซึ่งได้ระบุให้เป็นชุดกระโปรงระดับความยาวครึ่งเข่าเชื่อมติดกับตัวเสื้อซึ่งมีสายโยงโอบอ้อมด้านหน้าไปผูกกันที่ด้านหลังซึ่งเว้าลึกลงมาถึงครึ่งหลัง ผลการตัดสินในคืนประกวดวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2482 โฆษกประจำงานได้ประกาศชื่อ เรียม เพศยนาวิน ซึ่งส่งเข้าประกวดโดยอำเภอยานนาวา ให้เป็นผู้ครองตำแหน่งนางสาวไทย ท่ามกลางรองนางสาวไทยทั้ง 4 อันดับ ประกอบด้วย มาลี พันธุมจินดา รองอันดับ 1 เทียมจันทร์ วานิชขจร รองอันดับ 2 เจริญศรี ปาศะบุตร รองอันดับ 3 และ ลำยอง สู่พานิชย์ รองอันดับ 4 ตามลำดับ

เรียม แพศยนาวิน นางสาวไทย ปีพ.ศ. 2482
''เรียม'' ได้รับคัดเลือกเป็นนางสาวไทยคนที่ 6 ของประเทศ ขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 16 ปี เป็นบุตรสาวคนโตจากพี่น้องจำนวน 7 คน ของ นายสุมิต ผู้เป็นบิดาชาวอิสลาม แต่มารดาของเธอเป็นชาวจีน เกิดที่อำเภอบางรัก พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหัสดัมอิสลามวิทยาลัย หลังจากรับตำแหน่งนางสาวไทย กว่า 10 ปี จึงได้เข้าพิธีสมรสกับ เอช เอช ซุดพัตรา ชามา ลุลลาอิล ราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย มีโอรสธิดารวม 4 องค์ เรียม หรือ รานีซุดพัตรา ชามาลุลลาอิล ตวนมาเรียม ถึงแก่อนิจกรรมอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลันในปี พ.ศ. 2529 สิริอายุรวม 64 ปี
อนึ่งนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เรียม นับเป็นสาวมุสลิมเพียงคนแรก และคนเดียวเท่านั้นที่ได้ครองตำแหน่งนางสาวไทย
.....................................................


2483 : 1940

1. สว่างจิต คฤหานนท์ Sawangjit Karuharnon
2. อารี ปิ่นแสง : Aree Pinsaeng
3. สมจิตต์ ลิ้มไพบูลย์ : Somjit Limpaiboon
4. ประชัญ ศิวเสน : Prachan Quesain
5. ฉลาด ลิ่มสวัสดิ์ : Chalard Limsawad


สว่างจิตต์ คฤหานนท์ นางสาวไทย ปีพ.ศ. 2483
การประกวดนางสาวไทยปีพ.ศ. 2483 ได้เริ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองรอบด้านที่แม้จะเริ่มส่อเค้าของการสู้รบตามแนวพรมแดนด้านอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หากการดำเนินการประกวดในงานฉลองรัฐธรรมนูญก็ยังคึกคักไปด้วยฝูงชนที่เข้ามาร่วมงานมากมาย ปีนั้นการฉลองเป็นไปอย่างครึกครื้น โดยเฉพาะบนเวทีการประกวดนางสาวไทยที่มีการประกวดถึง 5 คืน ระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม การแต่งกายถูกกำหนดให้ผู้เข้าประกวดต้องใส่ชุดเสื้อแขนกุดเปิดหลังเช่นเดิม แต่เปลี่ยนจากกระโปรงยาวคลุมเข่า มาเป็นกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเพื่อโชว์ส่วนขาอ่อน และแล้วสาวงามผู้ได้รับการคัดเลือกให้ครองตำแหน่งนางสาวไทยด้วยคะแนนชนะเลิศชนิดลอยลำคือ สว่างจิตต์ คฤหานนท์ ผู้ซึ่งคณะกรรมการประชาชนอำเภอยานนาวาส่งเข้าประกวด ส่วนผู้ครองตำแหน่งรองนางสาวไทยอีก 4 คนได้แก่ สมจิตต์ ลิ้มไพบูลย์, อารี ปิ่นแสง, สะอาด ลิ่มสวัสดิ์ และประชิญ ศิวเสน

''สว่างจิตต์'' เป็นธิดาของ พันโท พระแกล้วกลางณรงค์ และ นางสาคร คฤหานนท์ ขณะรับตำแหน่งนางสาวไทยนั้นมีความรู้จบชั้นมัธยมบริบูรณ์ และเป็นนางสาวไทยที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมดังที่หญิงไทยพึงมีหลายประการ สว่างจิตต์ เข้าพิธีสมรสกับ เรืออากาศเอก ระริน หงสกุล มีบุตร ธิดารวม 3 คน ปัจจุบัน คุณหญิง สว่างจิตต์ หงสกุล ใช้ชีวิตอย่างสงบ ในวัย 82 ปีท่ามกลางลูกหลานอย่างมีความสุข