วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ต่อ นางสาวสยาม ยุคที่ 1 : พ.ศ. 2491 - 2497

ปี พ.ศ. 2484 งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานประกวดนางสาวไทยกำลังดำเนินไปตามปกติร้านรวงมีการจัดสร้างไว้อย่างสวยงาม สาวงามผู้เข้าประกวดนางสาวไทยทุกคนได้เริ่มเดินขึ้นสู่เวทีประกวดในคืนแรกแล้ว
หากแต่เกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นได้ยกกำลังพลบุกที่บางปู จังหวัประจวบคีรีขันธ์ ตลอดไปจนทั้งแถบจังหวัดภาคใต้ จนถึงมลายู และทั่วไปทุกประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อสู้สงครามโดยเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร งานประกวดนางสาวไทยจึงหยุดชะงักกลางคัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยจึงได้มีการฉลองขวัญคนไทย และรัฐธรรมนูญด้วยการประกวดนางงาม ดอกไม้ของชาติ ขึ้นมาแทน เนื่องจากไม่ได้มีสาวงามจากต่างจังหวัดเข้าร่วมประกวด ด้วยเหตุผลของการคมนาคมไม่สะดวก จะมีก็เพียงสาวงามจากกรุงเทพฯ และธนบุรีเท่านั้น ผู้ชนะเลิศเป็น ดอกไม้ของชาติ คนแรกและคนเดียวในประเทศไทย คือ ปิยฉัตร บุญนาค






2491 : 1948

1. ลัดดา สุวรรณสุภา : Ladda Suwansupa
2. ปราณี มาลีพันธุ์สกุล : Pranee Maleepansakul
3. เรณู พิบูลภาณุวัฒนา : Renu Pibulpanuwattana
4. ลักษมี กรรณสูตร : Luksamee Kannasutra
5. อุษา วีรยวรรธนะ : Usa Weerayawattana




ลัดดา สุวรรณสุภา นางสาวไทย ปี พ.ศ.2491

หลังจากสงครามเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ในปี พ.ศ.2491 รัฐบาลโดยกองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีมติให้จัดการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญหลังจากว่างเว้นการประกวดนางสาวไทยมาถึง 8 ปีได้กำหนดให้มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม มีการเดินประกวดในชุดเสื้อแขนกุดเปิดหลัง กางเกงกีฬา เหมือนดังปี 2483 เวทีประกวดถูกจัดขึ้น ณ สวนอัมพร ท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบายของลมหนาวสาวงามผู้ที่ชนะใจกรรมการได้รับการตัดสินดำรงตำแหน่งนางสาวไทย คือ ลัดดา สุวรรณสุภา ท่ามกลางรองอีก 4 คน คือ ลักษมี กรรณสูต, อุษา วีรยะวรรธนะ, เรณู ภิบูลย์ภาณุวัธน์ (คุณแม่ แซม ยุรนันทน์) และ ปราณี มาลีพันธุ์สกุล

''ลัดดา'' เป็นนางสาวไทยที่สื่อมวลชนบางฉบับเรียกขานเธอว่า ''บุหงาปัตตานี'' เนื่องจากเธอเข้าประกวดในนามของจังหวัดปัตตานีแม้ว่าแท้ที่จริงเธอจะเป็นชาวกรุงเทพฯ ก็ตาม ลัดดาครองตำแหน่งนางสาวไทยขณะอายุ 16 ปี เป็นธิดาของนายดิเรกข้าราชการนครบาลกรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 4 จากโรงเรียนซางตาครูซ คอนแวนด์ ''ลัดดา'' เข้าพิธีสมรสกับนายสนิท พุกประยูร มีบุตรชาย 2 คน

..................................................................






2493 : 1950


1. อัมพร บุรารักษ์ : Amporn Burarak
2. โสภิตสุดา วงประเสริฐ : Sopitsuda Wongprasert
3. วีณา มหานนท์ : Weena Maharnon
4. พรทิพย์ จันทโมกข์ : Porntip Jantamoak
5. ศรีสมร อรรถไกรวัลวที : Srisamorn Uttakraiwanwatee




อัมพร บุรารักษ์ นางสาวไทย ปีพ.ศ.2493



และในปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2492 การประกวดนางสาวไทยและงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญต้องมีอันงดจัดไป 1 ปี เนื่องจากมีคำสั่งของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจของบ้านเมืองไม่เอื้ออำนวย



ปี 2493 ได้มีการพลิกฟื้นงานฉลองรัฐธรรมนูญคืนมาอีกวาระหนึ่งพร้อมกับความคึกคักในบริเวณงานที่เต็มไปด้วยร้านรวงต่างๆ นานาจากหน่วยงานของราชการและเอกชนในปีนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดอีกครั้งหนึ่งและนับเป็นปีแรกของการประกวดที่ผู้เข้าประกวดต้องสวมชุดว่ายน้ำผ้าไหมเดินบนเวที ณ สวนอัมพรนั้นความหนาวเหน็บในปีนั้นก็มิได้ทำให้ผู้ชมงานลดน้อยถอยลงไปแต่ประการใด เนื่องเพราะมีเอื้องเหนือผู้เข้าประกวดหมายเลข 1 ซึ่งเป็นตัวแทนจากจังหวัดเชียงรายและเป็นขวัญใจของผู้เข้าชมโดยทั่วไปได้รับการขนานนามให้เป็นนางสาวไทย ประจำปี 2493 ได้แก่ นางสาวอัมพร บุรารักษ์ และผู้ได้รับตำแหน่งรองนางงาม ประกอบไปด้วย ศรีสมร อรรถไกวัลวที, วีณา มหานนท์ , โสภิตสุดา วรประเสริฐ และพรทิพย์ จันทโมกข์



''อัมพร'' เกิดที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เธอเป็นบุตรสาวคนโตในจำนวน 7 คน ของ นายบุญส่ง ข้าราชการ อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนราษฎร์ประพันธ์กุลและได้รับจากการทาบทามของผู้ว่าราชการส่งเข้าประกวดในนามของจังหวัดเชียงราย นับเป็นนางสาวไทยคนที่ 9 ของประเทศไทย และเป็นเอื้องเหนือคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งนางสาวไทยเธอได้รับตำแหน่งขณะอายุ 18 ปีต่อมาได้สมรสกับร้อยตำรวจตรี วิศิษฐ์ พัฒนานนท์ มีบุตรธิดา



...........................................................





2494 : 1951


1. อุษณีย์ ทองเนื้อด : Usanee Thongnurdee
2. สุภัทรา ทวิติยานนท์ : Supatthra Tavitiyarnon
3. บุหงา วัชโรทัย : Bu-Nga Watcharothai
4. เปล่งศรี โสภาวรรณ : Plengsri Sopawan
5. สุวรรณา กังสดาล : Suwan Kansadan

อุษณีษ์ ทองเนื้อดี นางสาวไทยปีพ.ศ.2494

การประกวดนางสาวไทย 2494 ยังคงดำเนินต่อเนื่องจากปีกลาย ณบริเวณสวนอัมพรเช่นเดิม มีผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 30 คน ในคืนประกวดวันสุดท้ายสาวงามผู้อยู่ในความสนใจของประชาชนมีอยู่หลายคน แต่ผู้ที่อยู่ในความสนใจของกรรมการมีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งผู้ที่ชนะใจกรรมการในคืนประกวดวันนั้น ได้แก่ อุษณีย์ ทองเนื้อดี สาวงามในชุดว่ายน้ำสีชมพูกลีบบัวท่ามกลางรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ สุวรรณา กังสดาร, สุภัทรา ทวิติยานนท์, เปล่งศรี โสภาวรรณ และบุหงา วัชโรทัย

''อุษณีษ์'' นางสาวไทยคนที่ 10 ของประเทศไทย เธอเป็นบุตรีคนที่ 4จากจำนวนพี่น้องรวม 8 คน ของ นายเอื้อม ผู้รับราชการเป็นผู้ช่วยสรรพสามิตจังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนสายปัญญาเข้าประกวดนางสาวไทยในนามจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการทาบทามของ หลวงอรรถไกลวัลวที บิดาของ ศรีสมรอรรถไกวัลวที รองนางสาวไทยเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของอุษณีษ์ขณะครองตำแหน่งนางสาวไทยเธอมีอายุ 18 ปีเต็มโดยเข้าร่วมประกวดพร้อมกับพี่สาว นวลละออ ทองเนื้อดี ซึ่งผ่านเข้ารอบรองสุดท้ายในการประกวดปีเดียวกันของ ''อุษณีษ์'' ความหมายที่มงคลต่อตัวเธอ อันมีความหมายว่า ''มงกุฎ'' มงกุฎของเธอซึ่งเป็นมงกุฎดิ้นเงินปักบนผ้ากำมะหยี่ดังเช่นปีที่ผ่านมาและยังมีแหวนเพชรเสียบอยู่บนเรือนมงกุฎอีกด้วย อุษณีษ์เข้าพิธีสมรสกับร้อยโท ม.ร.ว. พงษ์ดิศ ดิศกุล มีบุตรธิดารวม 5 คน


............................................................



2495 : 1952

1. ประชิตร ทองอุไร : Prachit Thong-urai
2. ดวงจันทร์ บุญศรี : Duangjan Bunsiri
3. วิจิตรา วัลลิสุดต์ : Wijittra Wanlisut
4. พยุงศรี สาคริกานนท์ : Payungsri Sar-krikanon
5. นัยนา ไชยสุต : Naiyanar Chaiyasut


ประชิตร์ ทองอุไร นางสาวไทยพ.ศ. 2495
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในปี 2495 ที่ค่อนข้างระส่ำระสายด้วยเรื่องของการจับกุมบุคคลในแวดวงการเมืองและต่างๆ ในข้อหาคอมมิวนิสต์หากงานฉลองงานรัฐธรรมนูญ 2495 ยังดำเนินต่อไปอย่างคึกคักด้วยผู้คนและห้างร้านต่างๆ ที่มาออกงานมากมายจนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานที่การจัดงานจากบริเวณสวนอัมพรไปยังบริเวณสวนลุมพินีซึ่งมีเนื้อที่กว้างกว่า และในส่วนของเวทีการประกวดนางสาวไทยที่ได้มีการจัดสร้างกันอย่างถาวรสาวงามผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยคนที่ 11 คือตัวเก็งที่อยู่ในสายตาประชาชนตลอดการประกวด ได้แก่ ''ประชิตร์ ทองอุไร'' พร้อมรองอีก 4 นางสาว ได้แก่ ดวงจันทร์ บุญศรี, วิจิตรา วัลลิสุต, พยุงศรี สาคริกานนท์ และนัยนา ไชยสุต

''ประชิตร์'' เกิดและเติบโตแถวถนนรองเมือง กรุงเทพมหานครบิดาเป็นนายตรวจสายไฟฟ้า กรมรถไฟ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จากโรงเรียนโพธิทัตได้รับการชักชวนจาก ภรรยาของ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานในสมัยนั้น โดยเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยในนาม กระทรวง เกษตราธิการหรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน
ขณะได้รับตำแหน่งนางสาวไทย ''ประชิตร์'' อายุ 18 ปี ด้วยรอยยิ้มอันงดงามบนใบหน้าอันคมคายทำให้เธอเป็นขวัญใจของวัยรุ่นในสมัยนั้นอย่างไร้ข้อกังขาและนับว่าเป็นนางสาวไทยของประชาชนอย่างแท้จริง

................................................................



2496 : 1953

1. อนงค์ (อัชชวัฒนา) นาคะเกศ : Anong Atchawattana
2. นวลสวาท ลังการ์พินธุ์ : Nuansavard Langkapin
3. เลิศลักษณ์ ศิริวิเศษ : Lertlak Sirivisade
4. อมรา อัศวนนท์ : Amara Buranon ( ตัวแทนสาวไทยคนแรกที่เข้าร่วมการประกวด มิสยูนิเวอร์ส 2497 ) First Thailand's representative in Miss Universe 1954 )
5. มารศรี ยุวนากร : Marasee Yuwanarkorn

อนงค์ อัชชวัฒนา นางสาวไทย ปีพ.ศ.2496
ปลายปี 2496 งานฉลองรัฐธรรมนูญดำเนินไปอย่างราบรื่นท่ามกลางข่าวการตัดสินคดีประทุษร้ายต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งนับเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ตกเป็นข่าวดังต่อเนื่องอยู่ในความสนใจของปวงชนชาวไทยอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การประกวดนางสาวไทยก็ได้ สาวงามผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมความงามตามแบบฉบับหญิงไทย คือ อนงค์ วัชชวัฒนา ชัยชนะของเธอครั้งนี้อยู่เหนือสาวงามผู้เข้าร่วมประกวดถึง 130 คนท่ามกลางรองอีก 4 คน คือ นวลสวาท ลังกาพินธุ์ นางสาวถิ่นไทยงาม ปี 2496, อมรา อัศวนนท์, มารศรี ยุวนาการ และเลิศลักษณ์ ศิริวิเศษ

''อนงค์'' ครองตำแหน่งนางสาวไทยขณะอายุ 18 ปีเธอเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิดเกิดและเติบโตในช่วงปฐมวัย ย่านสวนมะลิ เป็นบุตรสาวคนโตของครอบครัวมีน้องชาย 2 คนในวัยเด็กศึกษาที่โรงเรียนแก้วปัญญา และโรงเรียนสายปัญญาในระดับมัธยมก่อนที่ย้ายไปพำนักที่ สวรรคโลกและลำปาง ตามลำดับเมื่ออายุ 16 ปีขณะอยู่ลำปางเธอได้เข้าร่วมประกวดนางสาวลำปาง และพิชิตชัยชนะเป็นนางสาวลำปางก่อนที่จะเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยเพียง 2 ปีต่อจากนั้นจึงเข้าร่วมประกวดนางสาวไทยในนามของกระทรวงการคลังในขณะที่ครองตำแหน่งนางสาวไทย เธอที่ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นนาน 14 วัน จากการเชิญของธนาคารมิตซุย และเป็นนางสาวไทยคนแรกที่ได้รับการขับกล่อมในคืนวันรับตำแหน่งด้วยเพลง ''นางฟ้าจำแลง'' โดยมี ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ประพันธ์ คำร้องและทำนอง ซึ่งเพลง ''นางฟ้าจำแลง'' นับเป็นเพลงอมตะของการประกวดนางสาวไทยมาจวบจนปัจจุบัน
หลังจากพ้นหน้าที่ในตำแหน่งนางสาวไทย อนงค์ได้เข้าพิธีสมรสกับ นายแพทย์ไพฑูร นาคะเกศ ให้กำเนิดบุตรชาย 2 คน อนงค์ปิดฉากชีวิตลงด้วยการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อปี 2545 สิริรวมอายุ 68 ปี

............................................................


2497 : 1954

1. สุชีลา ศรีสมบูรณ์ : Sucheela Srisomboon
2. ระเบียบ อาชนะโยธิน : Rabiab Archanayothin
3. อุทัยวรรณ เทพจินดา : Uthaiwan Debjinda
4. จงดี วิเศษฤทธิ์ : Jongdee Wisetrit
5. วาสนา รอดศิริ : Wasana Rodsiri







นางสาวไทยยุคแรก คุณสุชีลา ศรีสมบูรณ์ เป็นคนสวยอ้วนดี เป็นคนสวยท้วม สวยแบบผู้หญิงสมัยก่อน คือผู้หญิงสมัยก่อนตัวไม่โตและก็ท้วม สวยหวาน ก่อนหน้านี้เคยพลาดจากเวทีใหญ่มาแล้ว ได้รองนางสาวถิ่นไทยงาม ตอนนั้นใช้ชื่อเดิม-สมบูรณ์ ศรีบุรี พอประกวดนางสาวไทยชนะ นางสาวถิ่นไทยงามตกรอบ คุณสุชีลาประวัติชีวิตค่อนข้างน่าเห็นใจ เพราะไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิตคู่เท่าไหร่ พอเลิกกับสามีคนแรก ลูกกับแม่ไม่เคยเจอกันเลย ต่อมาไปเป็นภรรยาอีกคนของเจ้าของโรงแรมที่กำแพงเพชร

ไม่มีความคิดเห็น: