วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

นางสาวสยาม ยุคที่ 2 : พ.ศ. 2507 - 2515


2507 : 1964


1. อภัสรา หงสกุล : Apasara Hongsakula ( นางงามจักรวาล คนที่ 14 พ.ศ. 2508 ) ( Miss Universe 1965 )
2. อรัญญา นามวงศ์ : Aranya Narmwong
3. เนาวรัตน์ วัชรา : Naowarat Watchara
4. เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล : Saowanee Worapanyasakul
5. ละอองดาว กริยา : La-ongdao Kiriya





อาภัสรา หงสกุล นางสาวไทย พ.ศ. 2507



แม้ว่าจะงดจัดการประกวดนางสาวไทยไปถึง 9 ปี พร้อมๆ กับการยกเลิกงานฉลองรัฐธรรมนูญ แต่ในระยะนั้นการประกวดความงามระดับชาติก็มิได้สูญหายไปสักทีเดียว ดังเช่นการประกวดนางงามวชิราวุธที่จัดโดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2503 ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนชาวไทยได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว งานวชิราวุธานุสรณ์หรือที่คนทั่วไปเรียกสั้นๆ ว่า งานวชิราวุธฯ นั้นได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และคึกคักไม่แพ้งานฉลองรัฐธรรมนูญทีเดียว โดยมีการจัดสืบเนื่องกันมาเป็นระยะๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมาในส่วนของการประกวดนางงามวชิราวุธนั้นมีการจัดต่อเนื่องถึง 4 ปีติดต่อกัน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนเวทีการประกวดมาใช้ชื่อการประกวดในนามนางสาวไทยในปี 2507



การประกวดนางสาวไทย ประจำปี 2507 ได้มีการรื้อฟื้นการจัดการประกวดขึ้นโดยคณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ อันมี พลเอก ประภาส จารุเสถียร นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานการจัดงานด้วยเหตุผลที่เป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว อันเนื่องจากการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภาคธุรกิจ บริการและปริมาณของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในรอบ 5 ปี ( 2503 - 2507) และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยยิ่งขึ้นในรูปแบบของการส่งตัวแทนในตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงในโอกาสที่เข้าร่วมประกวดนางงามระดับนานาชาติ



ผลการประกวดนางสาวไทยในปี 2507 เป็นไปตามความคาดหมายของทุกฝ่ายสาวงามหมายเลข 28 อาภัสรา หงสกุล อันมีคณะดุสิตจิตรลดาพญาไท เป็นผู้ส่งประกวด ได้ถูกขานชื่อเป็นนางสาวไทยคนที่ 14 ของประเทศด้วยรอยยิ้มอันงดงามของสตรีไทยวัยแรกแย้ม อายุเพียง 17 ปี อาภัสราเข้ารับการสวมมงกุฎเพชร โดย คุณหญิงไสว จารุเสถียร และเข้ารับพระราชทานถ้วยทองคำหนัก 10 บาท จากพระหัตถ์ของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 7 ส่วนรองนางสาวไทยอีกสี่คนในปีนั้นก็ได้แก่ อรัญญา นามวงศ์, เนาวรัตน์ วัชรา, เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล และ ละอองดาว กิริยา
''อาภัสรา'' เป็นสตรีไทยคนแรกที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบให้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ท. เป็นผู้ลงนามในสัญญากับบริษัทมิสยูนิเวิร์ส เพื่อเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2508 และเธอก็มิทำให้ชาวไทยทั้งประเทศผิดหวัง โดยสามารถพิชิตใจกรรมการชาวต่างชาติเป็นเอกฉันท์ให้ ดำรงตำแหน่งนางงามจักรวาล 2508 (1965) โดยมีรองนางงามจักรวาลอีก 4 คน ได้แก่ นางงามฟินแลนด์, นางงามสหรัฐอเมริกา, นางงามสวีเดน และนางงามฮอลแลนด์ ตามลำดับ
''อาภัสรา'' เป็นนางงามจักรวาล คนที่ 14 ของโลก และเป็นนางงามจักรวาลคนแรกของไทย เธอยังเป็นนางงามจักรวาลคนแรกในขณะนั้นที่มีการเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 35 ประเทศ ซึ่งนับเป็นระยะทางมากที่สุดในยุคนั้นอีกด้วย ปัจจุบัน อาภัสรา มีบุตรชาย 2 คน และ ได้ดำเนินธุรกิจด้านความงามในธุรกิจสปา ในชื่อ ''อาภัสรา สลิมมิ่ง แอนด์ สปา'' ในซอยอาภาภิรมย์ ย่านรัชดาฯ



นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับกลุ่ม DTC ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, บริษัท บีบีทีวี โปรดักชั่นส์ จำกัด และบริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน) ประกาศลงนามทำสัญญากับ บริษัท มิสยูนิเวิร์ส อิงค์ สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการในการจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 2005 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยในวันที่ 31 พ.ค. 48 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี โดยมีแนวทางหลักคือ ฟื้นฟูการท่องเที่ยวของไทย 6 จังหวัดภาคใต้ หลังเหตุการณ์สึนามิ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมี อภัสรา หงสกุล อดีตมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 1965 และภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซม่อน อดีตมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 1988 ร่วมแถลงข่าวด้วย












......................................................







2508 : 1965





1. จีรนันท์ เศวตนันท์ : Jeeranan Sawaittanan ( รองนางงามนางงามจักรวาล พ.ศ. 2509 )( 2nd runner-up Miss Universe 1966 )
2. ชัชฎาภรณ์ รักษาเวช : Chatchadaporn Raksanawech
3. สุทิศา พัฒนุช : Sutisa Pattanuch
4. มะลุลี เอี่ยมศิริรักษ์ : Malulee Eiumsirirak
5. กิ่งกมล อุบลรัตน์ : Kingkamol Ubolrat





จีรนันทน์ เศวตนันทน์ นางสาวไทย พ.ศ. 2508



หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการจัดประกวดนางสาวไทย 2507 การประกวดนางสาวไทย 2508 จึงดำเนินไปอย่างคึกคัก มีการเก็บค่าดูบัตรผ่านประตูเฉพาะการประกวดนางสาวไทยได้ถึง 9 แสนบาท โดยสาวนักเรียนนอกจากอังกฤษเป็นผู้พิชิตมงกุฎเพชร นางสาวไทย คนที่ 15 เธอคือ จีรนันทน์ เศวตนันทน์ และมีรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ, กิ่งกมล อุบลรักษ์, มลุลี เอี่ยมศิริรักษ์ และ สุนิศา พัตนุช

''จีรนันทน์'' หรือ ''เล็ก'' นางสาวไทย วัย 24 ปี เป็นนางสาวไทยที่มีความสง่างามด้วยความงามสะพรั่งของวัยสาวเธอเป็นผู้สมัครเข้าประกวดนางสาวไทยเป็นคนสุดท้าย จากการเรียกตัวให้กลับจากประเทศอังกฤษโดยบิดา หลังจากที่เดินทางไปเรียนทางด้านภาษาและเปียโนควบคู่กันไปเป็นระยะเวลา 3 ปี ก่อนกลับมาร่วมประกวดนางสาวไทย จากการทาบทามของ คุณสนิท โชติกเสถียร เข้าประกวดนางสาวไทยในนามราชตฤณมัยสมาคมเป็นผู้ส่งเข้าประกวดและคว้าตำแหน่งไปในที่สุด โดยไม่มีเวลาเตรียมตัวเข้าประกวดมากนัก ก่อนเข้าประกวด
และในปีถัดมาเธอได้เข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลประจำปี 2509 (1966) ณ ไมอามี่ บีช รัฐฟลอริดา โดยสามารถพิชิตตำแหน่ง รองนางงามจักรวาล อันดับ 2 มาฝากคนไทย ซึ่งมีนางงามสวีเดนเป็นผู้ครองมงกุฎนางงามจักรวาลสืบต่อจาก คุณอาภัสรา หงสกุล นั่นเอง
''จีรนันทน์'' เคยรับหน้าที่เป็นนางสนองพระโอษฐ์รับใช้เบื้องพระยุคลบาทและเคยไปใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงระยะหนึ่ง โดยทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษาไทยให้ ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์
ปัจจุบันจีรนันทน์เป็นผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สนามกอล์ฟแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอชื่นชอบในกีฬากอล์ฟ โดยเป็นที่เลื่องลือว่าฝีมืออยู่ในระดับโปรเลยทีเดียว




...........................................................





2509 : 1966



1. ประภัสสร พานิชกุล : Prapassorn Panichakul ( นางงามมิตรภาพ ในการประกวด Miss Queen of The Pacific พ.ศ.2510 )( Miss Congeniality of Queen of The Pacific 1967 )
2. ภาสวรรณ พหุลรัตน์ : Passawan Pahularat
3. นาตยา นิยมพงศ์ : Narttaya Niyompong
4. อุไรวรรณ งามบุญสืบ : Uraiwan Ngamsurbbun

5. สุภาภรณ์ นิลเสรี : Suparporn Nilseree




ประภัสสร พานิชกุล นางสาวไทย พ.ศ. 2509

พ.ศ. 2509 การประกวดนางสาวไทย ได้จัดขึ้นบริเวณอุทยานสวนสราญรมย์ดังเมื่อ 2 ปีก่อนผลปรากฏว่าสาวงามจากจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ครองตำแหน่งนางสาวไทยคนที่ 16 ของประเทศไทย เธอคือ ประภัสสร พานิชกุล ผู้มีความโดดเด่นที่ใบหน้าอันงดงามตามวัยอันสดใสของเธอในขณะนั้น ที่มีอายุเพียง 16 ปี บวกกับเรือนร่างอันสมส่วนบนความสูงถึง 164 เซนติเมตร ทำให้เธอชนะใจกรรมการไปในที่สุด พร้อมด้วยรองอีก 4 คน ได้แก่ อุไรวรรณ งามบุญสืบ, นาตยา นิยมพงศ์, ภาสวรรณ พหุลรัตน์ และ สุภาภรณ์ นิลเสวี
''ประภัสสร'' หรือ ''แดง'' เป็นลูกกำพร้าเกิดและเติบโตโดยการดูแลของน้าสาวที่จังหวัดลพบุรี เธอสำเร็จการศึกษาด้านการเสริมสวยจากโรงเรียนเสริมสวยดาวรุ่ง ก่อนเข้าร่วมประกวดนางสาวไทย เธอได้รับตำแหน่งนางงามบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีมาก่อน ขณะดำรงตำแหน่งนางสาวไทย เธอมิได้เดินทางไปร่วมประกวดนางงามจักรวาล เนื่องจากอายุเธอไม่ถึงเกณฑ์ประกวดของกองประกวดนางงามจักรวาล แต่เธอก็ได้มีโอกาสเดินทางไปเยือน ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น ทั้งยังมีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศได้เข้าร่วมประกวดนางงาม ที่ประเทศออสเตรเลีย และเธอก็ได้รับตำแหน่งนางงามผู้สง่างาม มาฝากคนไทยอีกด้วย

ประภัสสร หรือ จิตประภัสสร ในปัจจุบัน เธอมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นกับ พล.ต.ต.เทอดพงษ์ เทียนสุวรรณ มีทายาทด้วยกัน 3 คน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ กรุณพล เทียนสุวรรณ นักแสดงหนุ่มชื่อดัง และมีร้านอาหารจิตประภัสสร ย่านประชาชื่น เป็นธุรกิจเล็กๆ ที่เธอทำมานานอีกด้วย





............................................................................




2510 : 1967



1. อภันตรี ประยุทธเสนีย์ : Apantree Prayuttasenee( ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม ในการประกวดมิสยูนิเวอร์ส พ.ศ 2511 ) ( Best in Swimsuit, Miss Universe 1968 )
2. รุ่งทิพย์ ภิญโญ : Rungtip Pinyo ( รองอันดับ 4 นางงามนานานชาติ และขวัญใจช่างภาพ พ.ศ.2511 ณ ประเทศญี่ปุ่น )( 4th runner-up and Miss Photogenic of Miss International 1968 )
3. บุญตา ศรีแผ้ว : Bunta Sripaew
4. พัชรินทร์ ไพรอุดม : Patcharin Prai-udom
5. พินนะรัฐ ทะนันไช่ย : Pinnarat Tananchai




อภันตรี ประยุทธเสนีย์ นางสาวไทย พ.ศ. 2510



การประกวดนางสาวไทย พ.ศ. 2510 ได้มีการจัดประกวดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของสมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธเป็นปีที่ 4 หลังจากประสบความสำเร็จจากการจัดประกวดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา อภันตรี ประยุทธเสนีย์ เป็นสาวงามอีกผู้หนึ่งที่ได้ครองตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ โดยมีราชตฤณมัยสมาคมส่งเข้าชิงตำแหน่งนางสาวไทย ปี 2510 และประสบความสำเร็จในที่สุด
การประกวดในปีนั้นดำเนินไปอย่างคึกคักและมีการลุ้นกันระหว่างสองผู้เข้าประกวดที่มีความงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในสายตาของผู้ชม คือ อภันตรี และ รุ่งทิพย์ ภิญโญ สาวงามจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ พ่วงท้าย โดยรุ่งทิพย์พ่ายชัยชนะให้แก่อภันตรี จึงได้รับตำแหน่งรองนางสาวไทยพร้อมกับเพื่อนผู้เข้าประกวดอีก 3 คนที่ได้รับตำแหน่งรองในคราวเดียวกัน คือ พินนะรัฐ ทนันไชย, พัชรินทร์ ไพรอุดม และ บุญตา ศรีแผ้ว

''อภันตรี'' หรือ ''ปุ้ย'' เป็นบุตรีของนายทหาร ร่วมประกวดนางสาวไทยในนามราชตฤณมัยสมาคมเป็นผู้ส่งเข้าประกวดโดยเธอมิเคยผ่านเวทีประกวดนางงามมาก่อน เธอมีดวงตาที่กลม ใบหน้าหวานงดงาม ครองตำแหน่งนางสาวไทยคนที่ 17 เมื่ออายุ 19 ปี ในปีถัดมา อภันตรีเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล ณ ไมอามี่ บีช รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา แม้ว่าเธอจะพลาดตำแหน่งนางงามจักรวาล แต่เธอก็เป็นผู้หนึ่งที่เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย ด้วยความสง่างามและสะดุดตาผู้ที่ได้พบเห็นและเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมากปัจจุบัน อภันตรี มีบุตรสาว 1 คน และเธอยังคงความงามเช่นเดิม โดยมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน ททท. หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย





...................................................................





2511 : 1968




1. แสงเดือน แม้นวงศ์ : Sangdern Manwong ( แต่งกายชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ในการประกวดมิสยูนิเวอร์ส พ.ศ. 2512 ) ( Best National Costume of Miss universe 1969 )
2. เนตรทราย ชลาธาร : Naitsai Chalartorn
3. มีตทีรา ภัทรนาวิน : Mitteewa Pataranawin
4. ศรีมาย ทิพย์มณฑา : Srimai Tipmontha (ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน- Miss Photogenic)
5. จันทร์พร สุรินทร์เปาว์ : Janporn Surinpao






แสงเดือน แม้นวงศ์ นางสาวไทย พ.ศ. 2511

พ.ศ. 2511 แสงเดือน แม้นวงศ์ คือผู้ที่ครอบครองตำแหน่งนางสาวไทย ในฐานะตัวแทนของบริษัท เมืองทองไซโก้ ซึ่งมี คุณบุรินทร์ วงศ์สงวน สถาปนิกชื่อดังของเมืองไทยผู้ออกแบบมงกุฎนางสาวไทยหลายสมัยเป็นผู้สนับสนุนส่งเข้าประกวด เธอเป็นสตรีไทยคนแรกและคนเดียวที่มีหุ่นขี้ผึ้งในชุดไทยเรือนต้นสวมมงกุฎโชว์อยู่ในฮ่องกงส่วนสาวงามผู้มีความงามเป็นรองเธอที่ครองตำแหน่งรองนางสาวไทยทั้ง 4 คน ได้แก่ เนตรทราย ชลาธาร ผู้มีตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ 2511 พ่วงท้าย, ศรีมาย ทิพย์มณฑา ผู้มีตำแหน่งนางสาวลำปางพ่วงท้าย, มิตทีรา ภัทรนาวิน และ จันทรพร สุรินทร์เปาว์ โดยในปีนี้ได้มีการประกาศผลตำแหน่งขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การประกวดนางงามในประเทศไทย ได้แก่ ศรีมาย ทิพย์มณฑา รองนางสาวไทย นั่นเอง

''แสงเดือน'' สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนศึกษานารีและเข้าทำงานเป็นพนักงานฝึกหัด ณ ธนาคารออมสินก่อนเข้าร่วมประกวดนางสาวไทย ในการประกวดนางงามจักรวาล ที่หาดไมอามี่ ในปี 2512 เธอสามารถพิชิตตำแหน่งชนะเลิศนางงามผู้แต่งกายในชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ด้วยชุดไทยตามแบบละครรำสวมชฎาเป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ชมทั่วโลกเป็นอย่างยิ่งปัจจุบันหลังจาก แสงเดือน สมรสกับ นิเวศน์ พร้อมพันธุ์ โดยมีพยานรักเป็นธิดา 2 คน นอกจากจะเป็นแม่ศรีเรือนแล้ว ยังดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปอีกด้วย




....................................................................





2512 : 1969



1. วารุณี แสงศิรินาวิน : Warunee Saengsirinavin ( ตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวอร์ส ปี 2514 เนื่องจากวารุณี แสงศิรินาวินมีอายุไม่ครบตามที่กองประกวดกำหนดในปี 2513 )( Thailand's representative in Miss Universe 1970)
2. พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ : Phanarat Pisuttisak ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน -ชุดไทยยอดเยี่ยม( ชุดไทยจิตรดา) (Miss Photogenic - Best in Thai Jitrada Costume)
3. ษุศราภรณ์ ธีรทรัพย์ : Butsaraporn Teerasub
4. ลดาวัลย์ ยิ่งยง : Laddawan Yingyong
5. ปริยา ศรีวิชัย : Preeya Sriwai


วารุณี แสงศิรินาวิน นางสาวไทย พ.ศ. 2512



พ.ศ. 2512 วารุณี แสงศิรินาวิน สาวงามผู้ที่สมาคมพ่อค้าไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้สนับ สนุนส่งเข้าประกวด สามารถพิชิตตำแหน่งนางสาวไทย พ.ศ. 2512 ด้วยใบหน้าและเรือนร่างที่งดงาม โดยเฉพาะเรียวขาอันเรียวงามที่มีผู้กล่าวขวัญกันเป็นอย่างมาก โดยมีรองนางสาวไทยร่วมรุ่นอีก 4 คน ได้แก่ พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ ที่ควบอีก 2 ตำแหน่ง ได้แก่ แต่งกายชุดไทยจิตรลดางาม และ ขวัญใจช่างภาพ, ลดาวัลย์ ยิ่งยง, บุษราภรณ์ ธีระทรัพย์ และ ปริยา ศรีวิชัย ตามลำดับ

''วารุณี'' หรือ ''เปีย'' เป็นนางสาวไทยคนที่ 19 ของประเทศไทย เป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด เกิดและเติบโตย่านมหานาค เธอเป็นผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งนางสาวไทยถึง 2 ปีติดต่อกัน เนื่องจากในปีถัดมาสถานการณ์สงครามอินโดจีนอยู่ในภาวะรุนแรง ด้วยเหตุผลของความไม่เหมาะสมที่จะจัดงานสนุกสนานบันเทิง คณะกรรมการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์จึงมีมติให้งดการประกวดนางสาวไทยไป 1 ปี เธอได้ร่วมกับนางสาวไทยรุ่นพี่ไปร่วมงานเอกซโป 1970 ที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลในปี 2514 โดยเป็นสาวงามผู้มีอายุน้อยที่สุดของการประกวดครั้งนั้น
ปัจจุบันในวันนี้ของ วารุณี ความสุขอยู่ที่การทำงานในธุรกิจของครอบครัวเกี่ยวกับสิ่งทอ รวมทั้งการทำหน้าที่เป็นศรีภรรยาของ ตรีทิพย์ เตลาน



.............................................................







2514 : 1971




1. นิภาภัทร สุดศิริ : Nipapat Sudsiri
2. สรินยา ทัตตวร : Srinya Tattaworn
3. เปรมฤดี เสริมสิริ : Prame-rudee Sermsiri
4. ศรัญญา ทองขจร : Saranya Thongkajorn
5. เยาวเรศ ภูมิศิลป์ : Yaowaret Bhumisil


รางวัลพิเศษ Special Awards

สุนิสา พรหมนิเวศม์- ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน Sunisa panomniwai -Miss Photogenic




นิภาภัทร สุดศิริ นางสาวไทย พ.ศ. 2514



การประกวดนางสาวไทยได้มีการดำเนินต่อมาอีกครั้งในปี 2514 นิภาภัทร สุดศิริ เป็นสาวงามผู้พิชิตตำแหน่งนางสาวไทยไปอย่างงดงาม ท่ามกลางรองนางสาวไทย 4 คน ได้แก่ สิรินยา ทัตตวร, เปรมฤดี เสริมสิริ, ศรัญญา ทองขจร และ เยาวเรศ ภูมิศิลป์ ตามลำดับ โดยมี สุนิสา พรหมนิเวศน์ เป็นขวัญใจช่างภาพ ประจำปี 2514 และ เปรมฤดี เสริมสิริ รองนางสาวไทย ได้เป็น นางงามชุดไทยจิตรลดา อีกหนึ่งตำแหน่ง

''นิภาภัทร'' หรือ ''เล็ก'' ได้รับการสนับสนุนเข้าประกวด โดย บริษัท เสริมสุข จำกัด ''เป๊ปซี่'' เป็นผู้ส่งเข้าประกวด ก่อนเข้าประกวด เธอเป็นนางฟ้าของ บริษัท การบินไทย เธอมีเรือนร่างที่สูงโปร่งถึง 170 เซนติเมตร
ในปีถัดมา ''นิภาภัทร'' ได้เดินทางไปประกวดนางงามจักรวาล ณ ประเทศเปอร์โตริโก แม้ว่าจะไม่ได้ ตำแหน่งสูงสุดของการประกวด แต่รอยยิ้มอันประทับใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป ต่างกล่าวขวัญถึง มิสไทยแลนด์ อย่างชื่นชม ตลอดการเก็บตัวสองสัปดาห์ตลอดการประกวดในครั้งนั้น
ปัจจุบัน หลังจากสมรสกับ จตุพร สีหนาทกถากุล นักธุรกิจผู้มีกิจการหลายสิบอย่าง เช่น โรงแรมแลนด์มาร์ค สุขุมวิท, โรงแรมสยาม เพชรบุรีตัดใหม่, บริษัท สี




.....................................................




2515 : 1972




1. กนกอร บุญมา : Kanok-orn Bunma
2. แสงอรุณ จิตใจ : Saeng-arun Jitjai
3. สุดเฉลียว รอดบุญธรรม : Sudchaleaw Rodbuntham ( รองอันดับ 1 นางงามนานาชาติ พ.ศ.2516 ณ ประเทศญี่ปุ่น )( 1st runner-up Miss Young International 1973 )
4. ปริศนา โลหะนันท์ : Prissana Lohanan
5. สุดสวาท สมโนทัย : Sudsawas Somnothai


รางวัลพิเศษ Special Awards

ภรินทร กรเพชร - ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน Parintorn Kornpetch- Miss Photogenic
รุ่งทิวา ศรีวรกุล - ชุดไทยยอดเยี่ยม ( ชุดไทยจิตรดา) ( รองอันดับ 4 มิสเอเซียแปซิฟิก 2516 และตำแหน่งชุดประจำชาติยอดเยี่ยม )Rungthiva Sivorakul - Best in Thai Jitrada Costume ( 4th runner-up & Best National Costume of Miss Asia Pacific 1973 )




กนกอร บุญมา นางสาวไทย พ.ศ. 2515

พ.ศ. 2515 เป็นปีสุดท้ายในยุคที่ 3 ของการประกวดนางสาวไทย ผู้ได้รับตำแหน่งในปีนั้น คือ กนกอร บุญมา สาวงามจากจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีผู้ส่งเข้าประกวดคือภัตตาคารแม่น้ำ และมีรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ แสงอรุณ จิตต์ใจ, สุดเฉลียว รอดบุญธรรม, สุดสวาท สมโนชัย และ ปริศนา โลหะนันท์ โดยมี ภรินทร กรเพชร เป็นขวัญใจช่างภาพ ประจำปี 2515 และ รุ่งทิวา ศรีวรกุล ได้เป็น นางงามชุดไทยจิตรลดา

''กนกอร'' หรือ ''วัชรี เภามา'' พื้นเพเดิมเป็นชาวแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา อดีตนักเรียนเสริมสวยจากโรงเรียนเสริมสวยแอนนา เข้าร่วมประกวดนางสาวไทยโดยการชักชวนของอาจารย์ อรุณี สามโกเศศ เจ้าของ โรงเรียนเสริมสวยแอนนา เธอเป็นนางสาวไทยคนที่ 21 ของประเทศไทย เธอเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลที่ประเทศกรีซ ในปี 2516 ร่วมกับสาวงามอีกเกือบร้อยประเทศทั่วโลก แม้ว่าจะไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ กลับมา แต่เธอก็ได้ฝากรอยยิ้มและไมตรีจิตอันดีงามของชาวไทยไปเผยแพร่แก่ชาวโลกอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันหลังจากสมรสกับ สุวิทย์ พงษ์จรัสพันธุ์ เมื่อ 18 พฤษภาคม 2518 แล้ว กนกอรได้มาเป็นแม่บ้านอย่างเต็มตัว รวมไปถึงช่วยดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเชลล์ สุรนารีบริการ และห้างหุ้นส่วนจำกัดอุปกรณ์ค้าไม้ของสามี ที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา


...................................................

ไม่มีความคิดเห็น: